Page 28 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 28
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
๒.๒.๑ กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter)
กฎบัตรสหประชาชาติเป็นตราสารก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ซึ่งระบุถึง
ข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกในการสร้างเสถียรภาพและรักษาสันติภาพระหว่างประเทศต่าง ๆ ภายหลังสงครามโลก
ครั้งที่ ๒ และประกาศเจตจ�านงในการ “ยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกียรติศักดิ์ และคุณค่าของ
บุคคลผู้เป็นมนุษย์ ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาติทั้งใหญ่และเล็ก” ดังข้อความที่ปรากฏใน
หมวดที่ ๑ ของกฎบัตรว่า “ความมุ่งประสงค์ของสหประชาชาติ คือ เพื่อให้บรรลุถึงการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะ
แก้ปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือมนุษยธรรม และในการส่งเสริมและสนับสนุนการเคารพต่อ
สิทธิมนุษยชน และต่ออิสรภาพอันเป็นหลักมูลส�าหรับทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา”
ความส�าคัญของกฎบัตรสหประชาชาติในบริบทสิทธิมนุษยชน คือ การจัดตั้งองค์กรต่าง ๆ ที่มีบทบาทในการพัฒนามาตรฐาน
และตราสารสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะคณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) สมัชชาใหญ่ (General Assembly)
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council) และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court
of Justice)
นอกจากนั้น องค์การสหประชาชาติยังได้จัดตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (Human Rights
Council) เพื่อเป็นองค์กรที่มีพันธกิจในด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยตรงด้วย โดยสมัชชาใหญ่
ได้มีมติจัดตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อท�าหน้าที่แทนคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน
(Human Rights Commission) ที่ถูกจัดตั้งในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนมีสมาชิก ๔๗ ประเทศที่
ได้รับแต่งตั้งจากสมัชชาใหญ่ตามจ�านวนประเทศสมาชิกในแต่ละภูมิภาคและมีวาระ ๓ ปี โดยอาจได้รับแต่งตั้งเป็น
สมาชิกได้ติดต่อกันไม่เกินสองวาระ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้สร้างกลไกการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
หลายรูปแบบ ได้แก่
๑. การทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review)
สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติได้มีมติให้จัดท�ากระบวนการทบทวนสถานการณ์
สิทธิมนุษยชนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยให้มีคณะท�างานเพื่อการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Working Group
on the UPR) ซึ่งได้แก่ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนที่มีสมาชิก ๔๗ ประเทศ โดยก�าหนดให้ประเทศสมาชิกของ
องค์การสหประชาชาติ (๑๙๓ ประเทศ) จัดท�ารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของตนเสนอต่อคณะท�างานและ
เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอื่น ๆ ซักถามและเสนอแนะต่อประเทศที่เสนอรายงานได้
ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวจัดท�าขึ้นทุกระยะเวลา ๔ ปี โดยเริ่มมีการพิจารณารายงานเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑
และส�าหรับประเทศไทยได้จัดท�ารายงานดังกล่าวเสนอต่อคณะท�างานครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และครั้งที่สองใน
ปี พ.ศ. ๒๕๕๙
27
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ