Page 73 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 73
กรอบการท�า HRDD 7
2 การพัฒนาตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณมีความเที่ยงตรงและอาจเข้ากันได้ง่ายกว่ากับระบบติดตามผลประกอบการที่บริษัทมีอยู่เดิม
อย่างไรก็ตาม ในเมื่อความเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของผลกระทบต่อผู้คน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพจึงมีความสำาคัญ
ไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ
แหล่งข้อมูลส�าหรับการเลือกตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดจะต้องมีความหมายในบริบทท้องถิ่นที่บริษัทประกอบกิจการ แหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์อาทิ
• แนวโน้มหรือแบบแผนที่ระบุได้ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำาแล้วซ้ำาเล่า อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
เป็นบทเรียนสำาหรับพื้นที่นั้นๆ หรือเกิดในหลายพื้นที่ เป็นบทเรียนสำาหรับบริษัททั้งองค์กร
• เสียงสะท้อนจากพนักงานในพื้นที่ ซึ่ง “ติดดิน” หรืออาศัยอยู่ในชุมชนท้องถิ่น อาจพบเห็นและได้ยิน
สิ่งที่ฝ่ายจัดการไม่รับรู้
• ตัวชี้วัดเชิงพฤติกรรมอาจช่วยพยากรณ์ผลกระทบในอนาคตได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากบุคลากร
ของบริษัทแสดงกิริยาดูถูกเหยียดหยามชุมชนท้องถิ่น กิริยานี้ก็มักเป็นตัวชี้วัดที่บ่งชี้ได้ว่าความเสี่ยง
ด้านสิทธิมนุษยชนอาจไม่ถูกระบุหรือจัดการ
• เสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งกลุ่มเปราะบางหรืออยู่ชายขอบ ช่วยให้บริษัท
ทำาความเข้าใจได้ว่าพวกเขามองบริษัทอย่างไร
• การระบุผลกระทบที่แตกต่างกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย หรือระหว่างกลุ่มคนที่มาจากชนกลุ่มน้อย
ศาสนา หรือชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน
การสร้างสมดุลระหว่างตัวชี้วัดเชิงปริมาณกับตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่ดีนั้นเป็นประโยชน์ในการสื่อสารอย่างชัดเจนว่า บริษัทจัดการกับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ได้ดีเพียงใด โดยเฉพาะถ้าหากบริษัทของคุณมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือทางเทคนิคค่อนข้างมาก
พวกเขาเหล่านี้อาจคุ้นเคยกับข้อมูลที่เป็นตัวเลข บริษัทของคุณเคยรายงานเหตุร้ายที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรและผู้รับเหมา
เคยติดตามจำานวนวันที่เกิดเหตุครั้งสุดท้ายอย่างไร บริษัทก็อาจรายงานในทำานองเดียวกันสำาหรับเหตุการณ์ที่ส่งผล
กระทบต่อชุมชนท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพก็มักจะจำาเป็นเช่นเดียวกันในการช่วยให้บริษัทตีความข้อมูล
เชิงปริมาณเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ยกตัวอย่างเช่น จำานวนเรื่องร้องเรียนผ่านกลไกของบริษัทที่ค่อนข้างต่ำาอาจสะท้อนว่าเกิดเหตุน้อยลง หรืออาจ
สะท้อนว่าสมาชิกในชุมชนไม่เชื่อมั่นในกลไกดังกล่าวก็เป็นได้ การสอบถามคนที่เข้าข่ายจะใช้กลไกดังกล่าวจึงจำาเป็น
ในการทำาความเข้าใจว่า การตีความแบบใดที่ถูกต้อง
71