Page 69 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 69
กรอบการท�า HRDD 7
การประกอบกิจการในพื้นที่ขัดแย้ง
หลักการชี้แนะ UNGP ชี้ชัดว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงที่สุดที่เกี่ยวข้องกับบริษัทนั้นเกิดขึ้นในบริบทของ
ความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งที่ฝังรากลึกหรือในรัฐที่เปราะบาง รัฐบาลมักจะไม่มีกำาลังหรือไม่ยินยอมที่จะปฏิบัติ
หน้าที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกรณีแบบนี้ และอาจมีส่วนละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง บริบทเช่นนี้อาจต้องใช้กลยุทธ์
การจัดการความเสี่ยงที่เฉพาะเจาะจง ยกตัวอย่างเช่น
• ให้ความสนใจมากขึ้นกับการทำาแผนที่ผู้มีส่วนได้เสียที่น่าจะได้รับผลกระทบ
และให้พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางกว่าปกติ
• ทำาความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงประวัติศาสตร์และพลวัตของความขัดแย้ง
• ประเมินว่าการตัดสินใจหรือการกระทำาใดๆ ของบริษัทช่วยซ้ำาเติมความ
ขัดแย้งหรือไม่
• อาศัยบุคคลที่สามที่น่าเชื่อถือมาช่วยประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
และติดตามผลประกอบการด้านนี้ของบริษัท
• ปรับปรุงระบบของบริษัทให้มั่นใจว่า มันจะสามารถระบุและตอบสนอง
ต่อระดับความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ไม่ได้
• ให้ผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการจัดการความเสี่ยง
• เพิ่มความโปร่งใสที่เกี่ยวข้องกับความพยายามของบริษัทที่จะรับมือกับ
ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ตราบใดที่ทำาได้โดยไม่ทำาให้สถานการณ์
เลวร้ายกว่าเดิม
7.3 กระบวนการติดตาม ทบทวน รายงานและปรับปรุง
หลักการชี้แนะ UNGP คาดหวังอะไรจากบริษัท?
• บริษัทจะต้องติดตามตรวจสอบปฏิกิริยาของตนต่อผลกระทบด้าน
สิทธิมนุษยชนทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มว่าจะเกิด เพื่อประเมินว่า
บริษัทจัดการกับผลกระทบเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่ การติดตาม
ที่ว่านี้ควรอาศัยตัวชี้วัดเชิงคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม และสอบถาม
ความคิดเห็นจากภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งจากผู้มีส่วนได้เสีย
ที่ได้รับผลกระทบด้วย
67