Page 71 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 71

กรอบการท�า HRDD      7












                  ระบบหรือกระบวนการข้างต้น บางระบบอาจติดตามประสิทธิผลของการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
            บางประการอยู่แล้ว ในทำานองเดียวกัน บริษัทของคุณอาจติดตามประเด็นสิทธิมนุษยชนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการ
            ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของรัฐ เช่น ตามข้อกำาหนดของแหล่งทุน หรือมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่บริษัท

            เลือกปฏิบัติตาม ในกรณีนั้นบริษัทอาจทำาแผนที่ประเด็นต่างๆ ที่กำาลังติดตามผลอยู่แล้ว เปรียบเทียบกับความเสี่ยงด้าน
            สิทธิมนุษยชนข้อสำาคัญๆ เพื่อดูว่ามีช่องว่างอะไรบ้างที่จะต้องเติมเต็ม โดยบริษัทจะต้องรำาลึกอยู่เสมอว่าสิทธิมนุษยชน
            มีลักษณะเฉพาะตัว ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการติดตามผลควรคำานึงถึงมุมมองของผู้มีส่วนได้เสียต่อผลประกอบการ
            ด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท ไม่ใช่ดูแต่ “ข้อเท็จจริง” ที่บริษัทกำาหนดเอง นั่นหมายความว่า บริษัทจะต้องให้ความสำาคัญ
            เป็นพิเศษกับความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ










                                      การติดตามผลระดับพื้นที่ และระดับองค์กร



                  ข้อมูลที่จำาเป็นต่อการติดตามผลจะอยู่ในระดับพื้นที่ (โรงงาน สถานประกอบการ พื้นที่โครงการ ฯลฯ) ถ้าหาก
            บริษัทของคุณมีขนาดใหญ่ ข้อมูลบางส่วนก็อาจมาจากการที่สำานักงานใหญ่ได้หารือกับองค์กรภาคประชาสังคม

            ระดับโลกหรือระดับชาติ สหภาพแรงงาน หรือนักลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม บริษัทควรนำาข้อมูลเหล่านี้มารวบรวม
            และวิเคราะห์ สำานักงานใหญ่จะต้องสามารถติดตามความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและผลกระทบ ณ พื้นที่โครงการ
            ที่แตกต่างกัน ประสบการณ์ของบริษัทในการติดตามอุบัติภัยหรือเหตุการณ์ไม่ปลอดภัยอื่นๆ อาจให้บทเรียนที่มีค่า เช่น
            วิธีให้คะแนน (Scorecard) และระบบแจ้งเตือนเหตุร้ายอาจได้เข้าถึงการรับรู้ของผู้บริหารระดับสูงหรือคณะกรรมการ

            บริษัท





                                          วิเคราะห์ “รากสาเหตุ” ของปัญหา




                  เมื่อใดที่เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง หรือผลกระทบขั้นรุนแรงน้อยกว่าแต่เกิดอย่างซ้ำาซ้อน บริษัท
            ของคุณก็ควรวิเคราะห์เชิงลึกว่ามีปัจจัยรากฐานหรือ “รากสาเหตุ” อะไร การประเมินอย่างผิวเผินอาจบ่งชี้ว่าการกระทำา
            หรือการตัดสินใจของบริษัทไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับผลกระทบ แต่ในบางกรณีการวิเคราะห์เชิงลึกอาจเผยให้เห็นว่า
            การกระทำาหรือการตัดสินใจของบริษัทมีส่วนสร้างผลกระทบ และชี้แนวทางที่บริษัทอาจใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์

            นั้นเกิดขึ้นอีก บริษัทหลายแห่งมีประสบการณ์มาแล้วกับการวิเคราะห์รากสาเหตุของอุบัติภัยหรือหายนะด้านสิ่งแวดล้อม
            ฉะนั้นจึงอาจประยุกต์ระเบียบวิธีเหล่านั้นเข้ากับประเด็นสิทธิมนุษยชนเช่นกัน












                                                                                                          69
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76