Page 77 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 77

กรอบการท�า HRDD      7






                  ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค จึงค่อยๆ ย้ายเข้าสู่วิธีแบบ “ตั้งอยู่บน
            ความเป็นพันธมิตร” และกลไกสร้างความร่วมมือกันกับคู่ค้ามากขึ้น กลไกเหล่านี้เป็นส่วนเสริมหรือในบางกรณีก็ถูกใช้
            แทนที่กลไกตรวจสอบแบบดั้งเดิม และมักจะมีองค์ประกอบต่อไปนี้






                    •  สนับสนุนหรือวิเคราะห์รากสาเหตุของผลกระทบสำาคัญๆ เพื่อทดสอบข้อสรุปจากการตรวจสอบ
                       และมองหาปัญหาที่ซ่อนอยู่ลึกกว่า
                    •  ไม่เพียงแต่ประเมินว่าคู่ค้าทำาตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลในแง่ “ผลลัพธ์” อย่างไร แต่ยังประเมิน

                       คุณภาพของระบบการจัดการแบบมองไปข้างหน้าของพวกเขา ในการระบุและจัดการกับความเสี่ยง
                       ด้านสิทธิมนุษยชนของตัวเอง
                    •  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบริษัทเองในการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งบทเรียน
                       เรื่องตัวชี้วัดและระบบติดตามผลที่มีประสิทธิผล

                    •  แลกเปลี่ยนข้อมูลที่จะช่วยให้คู่ค้ามองเห็นประโยชน์ทางธุรกิจของการรับมือกับความเสี่ยงด้าน
                       สิทธิมนุษยชนในกิจการของพวกเขา






                  บริษัทอาจได้ประโยชน์จากประสบการณ์เหล่านี้ ระหว่างที่พัฒนาหรือปรับปรุงวิธีตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน ในเมื่อ
            บริษัทของคุณอาจมีคู่ค้าจำานวนมาก คุณก็อาจเน้นเฉพาะคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนสูงสุดในทางปฏิบัติ ไม่ว่า
            ความเสี่ยงนั้นจะเกิดจากธรรมชาติของสินค้า บริการ หรือบริบทการประกอบการ บริษัทบางแห่งใช้วิธีที่คล้ายคลึงกันนี้

            ในการติดตามตรวจสอบบริษัทรักษาความปลอดภัย ซึ่งอาจประยุกต์ใช้ได้ในความสัมพันธ์กับหน่วยงานความมั่นคงของ
            ภาครัฐ





                        7.4            กลไกรับเรื่องร้องเรียนและเยียวยาระดับปฏิบัติการ




                                    หลักการชี้แนะ UNGP คาดหวังอะไรจากบริษัท?






                               •  เมื่อบริษัทระบุได้ว่าบริษัทก่อให้เกิดหรือมีส่วนก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบ

                                  ด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทก็ควรแก้ไขให้ถูกต้อง หรือมีส่วนร่วมกับการแก้ไข
                                  ผ่านกระบวนการที่ชอบธรรม
                               •  บริษัทควรจัดตั้งหรือมีส่วนในการจัดตั้งกลไกรับเรื่องร้องเรียนสำาหรับผู้มี
                                  ส่วนได้เสียที่อาจได้รับผลกระทบเชิงลบจากกิจกรรมของตน เพื่อให้เรื่อง

                                  ร้องเรียนเหล่านั้นได้รับการจัดการอย่างทันท่วงที และมีการเยียวยาโดยตรง








                                                                                                          75
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82