Page 78 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 78
เรื่องนี้ส�าคัญอย่างไร?
• บริษัทไม่อาจแสดงความรับผิดชอบว่าเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ได้ จนกว่าจะมีส่วนร่วม
เชิงรุกในการแก้ไขผลกระทบที่บริษัทก่อหรือมีส่วนก่อ
• ผลกระทบเชิงลบอาจเกิดขึ้นอยู่ดี ต่อให้บริษัทได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม
ในเมื่อปฏิบัติการและความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีความซับซ้อนอย่างยิ่ง
• บริษัทต้องเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่ต้องลงมือแก้ไข จะได้ตอบสนองอย่างทันท่วงที
และมีประสิทธิผล กระบวนการแก้ไขให้ถูกต้องที่เข้มแข็งสามารถป้องกันผลกระทบ
ไม่ให้รุนแรงกว่าเดิม หรือป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้น
ขั้นตอนที่จ�าเป็น
1 การออกแบบกระบวนการติดตามผลอย่างเป็นระบบ
การมีระบบที่เอื้ออำานวยต่อการเยียวยาจะชี้ให้เห็นว่า บริษัทสามารถฟื้นฟูความเคารพในสิทธิมนุษยชน
อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลถ้าหากเกิดผลกระทบขึ้น วิธีที่เป็นระบบวิธีหนึ่งที่บริษัทจะแก้ไขผลกระทบได้คือ
การจัดทำากลไกรับเรื่องร้องเรียนระดับปฏิบัติการ
การนิยาม “การแก้ไขที่ถูกต้อง” และ “การเยียวยา”
การแก้ไขให้ถูกต้อง (Remediation) หมายถึง กระบวนการที่จะเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งมีได้หลายรูปแบบ
รวมถึงการขอโทษ การฟื้นฟู การชดเชยทั้งทางการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน และมาตรการลงโทษ (เช่น โทษทางอาญา
หรือโทษทางบริหาร เช่น ค่าปรับ) รวมถึงการป้องกันความเสียหายผ่านคำาสั่งห้ามของศาล หรือหลักประกันว่าจะไม่เกิด
ซ้ำาอีก การเยียวยาบางรูปแบบอาจเป็นกระบวนการทางกฎหมาย หลายรูปแบบอาจทำาผ่านกระบวนการอื่นด้วย
บริษัทควรพยายามทำาความเข้าใจว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบมองทางเลือกต่างๆ ในการเยียวยาอย่างไร พวกเขา
คิดว่าทางเลือกใดที่มีประสิทธิผลสูงสุดในสถานการณ์ของพวกเขา บริษัทควรหาทางอภิปรายประเด็นนี้กับผู้ร้องเรียน
โดยตรง สำารวจทางเลือกต่างๆ ทุกวิถีทางที่ทำาได้ นอกจากนี้ บริษัทอาจสร้างหลักประกันว่าผู้ร้องเรียนมีแหล่งให้
คำาปรึกษาของตนเอง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ร้องเรียนจะมีข้อมูลที่ครบถ้วนในการมองหนทางเยียวยาผลกระทบ
ในกรณีที่บริษัทตกลงกับผู้ร้องเรียนเรื่องวิธีเยียวยาไม่ได้ ปกติการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะต้องอาศัยกลไกที่เป็นอิสระ
และชอบธรรม ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการศาล กระบวนการทางบริหาร หรือกระบวนการอื่นๆ ที่ตกลงกันล่วงหน้า
76