Page 72 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 72
ออกแบบระบบการติดตามผลเพื่อเชื้อเชิญให้คนทั้งบริษัทเข้าร่วม
ระบบการติดตามผลอาจเป็นเครื่องมือช่วยให้ฝ่ายต่างๆ ภายในบริษัทสามารถรับมือกับผลกระทบ แบบเชิงรุก
ยกตัวอย่างเช่น
• ระบบการติดตามผลอาจส่งมอบข้อมูลที่ชี้ให้เห็นความเป็น “เหตุ” และ “ผล”
ระหว่างอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นของฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง กับการละเมิดกฎเกณฑ์หรือ
มาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนโดยคู่ค้า หรือระหว่างกิจกรรมของฝ่ายก่อสร้าง
กับข้อร้องเรียนของชุมชน หลักฐานแบบนี้จะช่วยให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจัดการ
กับปัญหาและระงับไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก
• ระบบการติดตามผลอาจกำาหนดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือหน่วยธุรกิจใด
ธุรกิจหนึ่งมีความรับผิดชอบในการสืบสวนผลกระทบ กำาหนดเส้นตายของ
การตอบสนองหรือรายงานความคืบหน้า และยกระดับประเด็นเข้าสู่การ
รับรู้ของผู้บริหารระดับสูงถ้าหากพลาดเส้นตายไปแล้ว การทำาเช่นนี้อาจช่วย
สร้างแรงจูงใจให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทำางานเชิงรุกได้
• การติดตามผลที่เป็นระบบในแง่นี้สามารถเน้นให้เห็นว่าประเด็น
สิทธิมนุษยชนนั้นเกี่ยวข้องกับบริษัททั้งบริษัท ส่งเสริมให้บุคลากรคิด
เชิงป้องกัน ไม่ใช่เพียงแต่หาทางรับมือเมื่อเกิดประเด็นขึ้น
การเชื่อมโยงผลประกอบการด้านสิทธิมนุษยชนเข้ากับการประเมินผลงานของพนักงาน
ข้อมูลผลประกอบการด้านสิทธิมนุษยชนที่ดีจะสามารถผลักดันการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องภายในบริษัท และอาจ
มีประสิทธิผลสูงสุดเมื่อข้อมูลนั้นถูกใส่เข้าไปในการประเมินผลงานของฝ่ายหรือหน่วยธุรกิจ ตลอดจนบุคลากรรายบุคคล
ในทุกส่วนของธุรกิจที่ส่งอิทธิพลต่อความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ยกตัวอย่างเช่น
• บริษัทอาจกำาหนดให้ผู้จัดการต้องอนุมัติกระบวนการประเมินผลประจำาปี
ซึ่งรวมถึงผลประกอบการด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่โครงการด้วย
• ถ้าหากการสอบสวนชี้ว่าบุคลากรคนใดคนหนึ่งมีส่วนร่วมกับผลกระทบ
ด้านสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง บุคลากรคนนั้นก็อาจถูกลงโทษ ในแง่ตัวเงิน
(เช่น หักเงินเดือน) หรือไม่ใช่ตัวเงิน
• เมื่อใดที่การกระทำาของบุคลากรช่วยป้องกันผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ขั้นรุนแรง บุคลากรคนนั้นก็อาจได้รับรางวัล ทั้งที่เป็นตัวเงินหรือไม่ใช่ตัวเงิน
เพื่อสื่อสารให้ชัดว่าบริษัทให้คุณค่ากับการใส่ใจในสิทธิมนุษยชน
70