Page 93 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 93
การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ และมาตรา ๑๑๖ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ การปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังหรือถูกจ�าคุกจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยไม่มีเงื่อนไข เป็นต้น
สถานการณ์โดยทั่วไปเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมหลังการเข้าควบคุมอ�านาจของ คสช.
อาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลมีการบังคับใช้กฎหมายในการจ�ากัดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวอย่างเข้มข้น มีการบังคับใช้กฎหมาย
ในลักษณะป้องปรามก่อนที่จะมีการกระท�าความผิด การแสดงความเห็นหรือวิจารณ์ คัดค้านเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะหรือ
โครงการของรัฐที่มีผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนถูกจ�ากัดหลายครั้งจากพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘
และการที่เจ้าหน้าที่รัฐมีอ�านาจในการใช้ดุลพินิจอย่างกว้างขวาง ท�าให้เกิดผลการปฏิบัติหรือการบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกัน
๓.๔.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
ในปี ๒๕๕๙ ได้มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย กฎหมายและการด�าเนินการของรัฐที่มีผลกระทบต่อเสรีภาพ
ในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมที่ส�าคัญหลายประการ ดังนี้
๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙
รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ เพื่อรองรับหน้าที่ของ
คณะกรรมการการเลือกตั้งในการด�าเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้เป็นไป
ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยกฎหมายดังกล่าวรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
และเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงไว้ แต่ต้องกระท�าโดยสุจริตและ
ไม่ขัดต่อกฎหมาย ขณะเดียวกันบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวในหมวด ๓ มีการ
๑๐๙
ควบคุมการออกเสียงและบทก�าหนดโทษ โดยเฉพาะมาตรา ๖๑ (๑) ที่ห้ามมิให้
ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และในวรรคสองได้บัญญัติห้ามมิให้ด�าเนินการเผยแพร่ข้อความ
ภาพ เสียง ในสื่อต่าง ๆ ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมุ่งหวังเพื่อ
ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียงให้ถือว่าผู้นั้นกระท�าการก่อให้เกิดความวุ่นวาย
เพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งหลังจากที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับ รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐได้รณรงค์
ให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน มีการจับกุมและด�าเนินคดีเกี่ยวกับการกระท�าที่ก่อความ
วุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยซึ่งมีโทษทั้งจ�าคุกและปรับ โดยเฉพาะกรณีของ ประธานกองทุนรัฐวัฒน์ตัน
มณีเพื่อสิทธิคนออทิสติก จังหวัดขอนแก่น ที่โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กอันเป็นความผิดตามมาตรา ๖๑ (๑) หรือการแจ้งข้อหาฝ่าฝืน
กฎหมายดังกล่าวต่อนักกิจกรรมหลายกลุ่มที่แจกแผ่นพับใบปลิวและเอกสารให้ความรู้เรื่องร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติบริเวณ
เคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาฝ่าฝืนค�าสั่ง คสช.ที่ ๓/๒๕๕๘ ข้อ ๑๒ เกี่ยวกับการห้ามชุมนุมทางการ
เมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป และข้อหาฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๖๑ (๑) วรรคสองและ
วรรคสามเพิ่มเติม และต่อมาถูกน�าตัวด�าเนินคดีต่อศาลทหารกรุงเทพ (ขณะนั้น ยังอยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร)
นับตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) น�าเสนอร่างรัฐธรรมนูญสู่สาธารณะ
ครั้งแรก มีการรับความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ และแก้ไขปรับปรุงจนเสร็จน�าเสนอร่างสุดท้ายสู่สาธารณะ ก่อนน�าไปลงประชามติ
ในวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ พบว่า ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดย ไอลอว์ รายงานว่ากิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ
๑๑๐
ยังถูกปิดกั้น - แทรกแซงอย่างน้อย ๑๙ ครั้ง ขณะที่เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง มีการแสดงออกข้อความปรากฏอยู่บนเสื้อที่มี
ข้อความว่า “VOTE NO ไม่รับกับอนาคตที่ไม่ได้เลือก”หรืออดีตนักการเมืองใส่เสื้อที่มีค�าว่า “รับ ไม่รับ เป็นสิทธิ์ไม่ผิดกฎหมาย” หรือ
๑๐๙ จาก ตัวตนจีรพันธ์ ตันมณี รายแรกเซ่น ก.ม.ประชามติ, โดย ศูนย์ข่าวภาคอีสาน, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net/news/politic/226713
๑๑๐ จาก สถานการณ์ปี ๒๕๕๙ ๔/๕: ความเงียบภายใต้อ�านาจเด็ดขาด, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://freedom.ilaw.or.th/PoliticalRightandFreedoms2016/4_5
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 92 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙