Page 94 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 94
การโพสต์ข้อความส่วนตัวทางสาธารณะออกมายืนยันเจตนาของตนที่จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคล
แต่พบว่าเจ้าหน้าที่ได้เข้าห้ามไม่ให้ใส่เสื้อที่มีข้อความ “VOTE NO” ร่วมกิจกรรมสาธารณะและการจับกุมด�าเนินคดีแก่นักกิจกรรม NDM
ที่จังหวัดราชบุรีโดยเจ้าหน้าที่ตรวจค้นพบเอกสารรณรงค์ประชามติซึ่งมีพฤติกรรมที่ขัดต่อกฎหมายมาตรา ๖๑ วรรคสอง การจับกลุ่ม
ผู้แจกใบปลิวข้อความที่มีสัญลักษณ์ชูสามนิ้วว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ ๗ ส.ค. VOTE NO” รวมไปถึงการใช้ค�าสั่ง
หัวหน้า คสช. ที่ ๑๓/๒๕๕๙ ควบคุมตัวนักศึกษาคนหนึ่งข้อหาผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา ๖๑ วรรคสองด้วย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้หยิบยกตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงมีค�าสั่งให้ขบวนการ
ผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (We Move) ยุติการจัดเวทีน�าเสนอร่างรัฐธรรมนูญ
และรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยที่ประชุม กสม. มีมติว่า การกระท�า
ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมีมาตรการการแก้ไข
ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติและ
ผู้ว่าราชการจังหวัดอ�านาจเจริญต่อไป ๑๑๑ ต่อมา กสม. ได้ออกแถลงการณ์
เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ ว่านับจากวันที่พระราชบัญญัติว่าด้วย
การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙ บังคับใช้ได้มีบุคคล กลุ่มบุคคล แสดงความคิดเห็นในทางสนับสนุน และไม่
สนับสนุนต่อร่างรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งมีการควบคุมตัวด�าเนินคดีต่อบุคคลที่แสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจ
น�าไปสู่บรรยากาศที่ไม่พึงประสงค์ของสังคมไทยซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิรูปประเทศ จึงมีข้อเสนอให้รัฐเปิดโอกาสให้ประชาชน
ได้แสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญโดยสุจริตเพื่อให้ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดูแลการปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าที่โดยเฉพาะการตีความเพื่อมิให้เกิดความไม่เป็นธรรม สร้างความขัดแย้ง ความแตกแยกในสังคมเรียกร้องให้ประชาชนทุกภาคส่วน
ที่มีความเห็นต่าง ไม่ใช้สถานการณ์การรับฟังความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ ซึ่งจะท�าลายบรรยากาศการแสดงความคิดเห็น
ต่อร่างรัฐธรรมนูญการรับฟังความเห็นของประชาชนควรเป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชนที่ถือปฏิบัติกันตามพันธกรณีกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๑๑๒
ขณะเดียวกัน ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔๕ ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙
มาตรา ๖๑ วรรคสอง มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
๑๑๓
มาตรา ๔ หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญฯ ได้วินิจฉัยแล้วว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙
มาตรา ๖๑ วรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ บทที่
มาตรา ๔ จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ๓
นอกจากนี้ กลุ่มองค์กรและนักกิจกรรม ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองขอให้เพิกถอนประกาศ กกต. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการแสดงความ
คิดเห็นในการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๙ และขอให้ระงับการออกอากาศรายการ “๗ สิงหาคม ประชามติร่วมใจ”
ซึ่งศาลปกครองมีค�าสั่งเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ไม่รับค�าฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า ผู้ยื่นค�าร้องไม่ได้เป็นผู้ได้รับความเสียหาย
โดยตรงจากประกาศดังกล่าว จนในที่สุด เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ ประธานกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการแสดง
ความเห็นการออกเสียงประเด็นร่างรัฐธรรมนูญพบว่า ประชาชนเห็นชอบกว่า ๑๖ ล้านคะแนน ไม่เห็นชอบกว่า ๑๐ ล้านคะแนน ๑๑๔
๑๑๑ ค�าร้องที่ ๑๓๖/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
๑๑๒ http://www.nhrc.or.th/NHRCT-Work/Statements-Press-Releases-Open-Letters/Statements/
๑๑๓ จาก เปิดค�าวินิจฉัยกลาง ศาลรัฐธรรมนูญ ท�าไม? ม.๖๑ วรรค ๒ ไม่ขัดรธน., โดย มติชนออนไลน์, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.matichon.co.th/news/200114
๑๑๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๖๙ ก/หน้า ๑๑/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๙
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 93 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙