Page 97 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 97
เชียงราย ชุมนุมประท้วงฟาร์มหมู โดยผู้จัดการชุมนุมได้ปฏิบัติตามกฎหมาย
๑๑๖
ดังกล่าวและยุติการชุมนุมอย่างสงบ หรือสมาพันธ์แรงงานอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย (CILT) ร่วมกับ INDUSTRIALL GLOBAL UNION ได้จัด
เสวนาเรื่อง “พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ ผลกระทบ
ต่อการใช้สิทธิของแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.
๒๕๑๘” โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายและการตีความ
ของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการชุมนุมของผู้ใช้แรงงานตามพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๙๙ (๔) ที่ได้ระบุเรื่องการให้สิทธิสหภาพ
แรงงานและลูกจ้างชุมนุมกันได้โดยตรง แต่มาตรา ๓ ของพระราชบัญญัติ
การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ ระบุไว้ว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับ
แก่การชุมนุมสาธารณะในกรณีใดบ้างซึ่งในวงเล็บ (๕) ได้ยกเว้นการชุมนุม
หรือการประชุมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมารัฐจ�ากัดสิทธิและ
เสรีภาพของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เช่น สหภาพแรงงานซันโคโกเซ ประเทศไทย
ชุมนุมที่กระทรวงแรงงานเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๙ และถูกไม่ให้ชุมนุม
เพราะกฎหมายจนน�ามาสู่การควบคุมตัวผู้จัดการชุมนุม ๑๑๗
การถูกจ�ากัดสิทธิของชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดบ�าเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ที่รวมตัวกันร่วมพิธีท�าบุญ
ถวายภัตตาหารเพล และต่อด้วยการเสวนาแลกเปลี่ยน “ผลกระทบถ่านหินและประสบการณ์การต่อสู้ของชาวบ้าน” โดยการ
รวมตัวดังกล่าว ซึ่งสืบเนื่องจากมาจากกรณีเจ้าหน้าที่ทหารและหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงในพื้นสั่งห้ามจัดทอดผ้าป่าสามัคคี
เพื่อระดมทุนในการต่อสู้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ�าเหน็จณรงค์ ซึ่งมีก�าหนดจัดงานในวันที่ ๒๖ - ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๙
โดยระบุว่าผิดกฎหมายเป็นภัยต่อความมั่นคงและสร้างความแตกแยกในชุมชน ท�าให้ชาวบ้านต้องเลื่อนการจัดงานผ้าป่าออกไป
อย่างไม่มีก�าหนด โดยกิจกรรมช่วงเช้ามีเจ้าหน้าที่ขับรถมาวนเวียนสังเกตการณ์ ส่วนช่วงบ่ายมีเจ้าหน้าที่ต�ารวจในเครื่องแบบ
และนอกเครื่องแบบสังเกตการณ์รอบที่ใช้จัดกิจกรรม หรือกรณีเครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนยื่นหนังสือ
๑๑๘
อุทธรณ์ค�าสั่งของสถานีต�ารวจนางเลิ้งที่ห้ามเครือข่ายชุมนุมคัดค้าน ตามค�าสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๙ และ ๔/๒๕๕๙ อันมีผล
ยกเลิกกฎหมายผังเมืองในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ๑๑๙
๓.๔.๔ การประเมินสถานการณ์
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ จะบัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
และความเสมอภาคที่เคยได้รับมาไว้ในกฎหมายดังกล่าว แต่สิทธิในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ยังคงถูกจ�ากัด ตรวจสอบ
ควบคุมอย่างเข้มงวดผ่านการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการแสดงความเห็นในด้านการเมือง
การปกครอง ตลอดจนการชุมนุมสาธารณะ แม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะหรือโครงการของรัฐและเอกชน
ที่มีผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน โดยกฎหมายส�าคัญที่ใช้ในการก�ากับ ควบคุมการใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็น
ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ค�าสั่งของ คสช. และค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจได้อย่าง
กว้างขวาง มีผลให้เกิดการปฏิบัติที่แตกต่างกันและมีอ�านาจมากขึ้น โดยเฉพาะจากค�าสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๙ เรื่อง มอบอ�านาจ
การอนุมัติและลงนามค�าสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามและผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม
ตามค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๓/๒๕๕๙ ในการกระท�าความผิดอาญาบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อย
๑๑๖ จาก ชาวบ้านเชียงรายประท้วงฟาร์มหมู ระบุชุมนุมตาม ‘พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ’ เป็นครั้งแรก, โดยประชาไท, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://prachatai.com/journal/2016/01/63397
๑๑๗ จาก เทศบาลนครแม่สอดจัดโครงการ”ต้นกล้าตากล้อง…ท่องเที่ยววิถีไทยนครแม่สอด”ส่งเสริมการถ่ายภาพแหล่งท่องเที่ยวนครแม่สอดแสดงศักยภาพของเยาวชนไทย, ๒๕๕๘,
สืบค้นจาก http://www.citizenthaipbs.net/node/7584
๑๑๘ จาก ชาวบ้านบ�าเหน็จฯ ล้อมวงคุยในที่ส่วนบุคคล ต�ารวจยังขู่คนให้ใช้พื้นที่จัดกิจกรรมมีความผิด, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://tlhr2014.wordpress.com/2016/03/28/bamnet_policethreat/
๑๑๙ จาก สน.นางเลิ้งยันหลังชาวบ้านอุทธรณ์ จะชุมนุมค้านปลดล็อคผังเมืองต้องขอหัวหน้า คสช., ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2016/02/64282
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 96 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙