Page 95 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 95
๒) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ มีหลักการและเหตุผลในการก�าหนดมาตรการเพื่อป้องกันและ
ปราบปรามการกระท�าต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถท�างานตามค�าสั่ง
ที่ก�าหนดไว้ หรือท�าให้การท�างานผิดพลาดไปจากค�าสั่งที่ก�าหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ
เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือท�าลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์
โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็น
เท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจารให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือน
ต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ ความสงบสุขและศีลธรรมของ
ประชาชน โดยมีบทบัญญัติก�าหนดความผิดไว้ในมาตรา ๑๔ เกี่ยวกับการน�าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมหรือ
เท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนหรือต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนก
แก่ประชาชน หรือมาตรา ๒๐ ซึ่งก�าหนดให้การท�าให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง
แห่งราชอาณาจักรตามที่ก�าหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ของประชาชน ซึ่งเมื่อบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ผ่านไประยะหนึ่ง ได้มีการเสนอให้มีการทบทวนหลักการของกฎหมาย
อันเนื่องมาจากปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย การตีความที่คลาดเคลื่อนไปจากเจตนารมณ์ โดยที่ผ่านมาในทางปฏิบัติ
พนักงานเจ้าหน้าที่และประชาชนส่วนใหญ่ตีความและปรับใช้การกระท�าตามมาตรา ๑๔ (๑) ควบคู่ไปกับการหมิ่นประมาทบุคคลอื่น
หรือเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ซึ่งผู้กล่าวหามักมุ่งเอาผิดกับการใช้ “ข้อมูลเท็จ” เพื่อใส่ความหรือกล่าวหากัน
ทางอินเทอร์เน็ต หรือการน�าภาพหรือเรื่องส่วนตัวมาเผยแพร่จนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง เกียรติยศ หรือถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้พิจารณากฎหมายดังกล่าวตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอ โดยปรับปรุงแก้ไขว่า
“ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนร�าคาญแก่ผู้รับข้อมูล
คอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดย ไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับ
ได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท” โดยหากเป็นการกระท�าต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับ
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือโครงสร้างพื้นฐาน
อันเป็นประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจ�าคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาทด้วย
โดยมีข้อกังวลว่า บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ก�าหนดอย่างชัดเจนว่า ข้อมูลใดที่จะเข้าข่ายท�าให้เกิดความเดือดร้อนร�าคาญ
และอาจละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนผู้สุจริตได้ และการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๔ (๑) ที่ผู้กระท�าโดยทุจริตหรือโดย
หลอกลวงน�าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์
อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระท�าความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมาย
อาญา ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟ้องหมิ่นประมาท รวมถึงการแก้ไขมาตรา ๒๐ (๓) ซึ่งมีข้อกังวลว่า อาจส่งผล
กระทบมากที่สุดต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป เพราะมีการเพิ่มเติมเนื้อหาความผิดที่เข้าข่ายการเผยแพร่ “ข้อมูลบิดเบือน” นอกเหนือไปจาก
“ข้อมูลเท็จ” ที่ระบุไว้แต่เดิม ถือเป็นค�าที่มีความหมายกว้างอาจน�าไปสู่การตีความที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น
ยกตัวอย่างกรณีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่วิพากษ์วิจารณ์ สินค้า บริการ หรือธุรกิจต่าง ๆ ผ่านสื่อออนไลน์ แม้จะเป็นการติชมโดยสุจริตก็อาจจะ
ถูกฟ้องร้องได้ง่ายขึ้น หรือคดีที่บริษัทแห่งหนึ่งได้รับสัมปทานเหมืองแร่ ยื่นฟ้องจ�าเลยหลายคนข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
น�าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙, ๘๓, ๙๐, ๙๑, ๓๒๖ และ ๓๒๘ จากการที่
จ�าเลยโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในท�านองว่า การประกอบกิจการเหมืองแร่ของโจทก์เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย หรือน�าเข้าข้อมูล
อันเป็นเท็จตามมาตรา ๑๔ (๑), (๕) ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ และมาตรา ๓๒๖ และ
๓๒๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา กรณีโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กท�านองว่า เหมืองทองแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร ได้รับการยกเว้นภาษี
ตามสิทธิพิเศษการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ท�าให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีและสูญเสียรายได้ให้แก่ต่างชาติ
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 94 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙