Page 90 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 90

จากผลส�ารวจพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตคนไทย
            ปี ๒๕๕๙ ของส�านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

                          ๑๐๐
            (องค์การมหาชน)  ในกลุ่มตัวอย่างจ�านวน ๑๖,๖๖๑ คน พบว่า
            บุคคลที่มีอายุระหว่าง ๑๖ - ๓๔ ปี มีพฤติกรรมใช้งาน
            อินเทอร์เน็ตมากที่สุดถึง ๕๓.๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือเฉลี่ยวันละ
            ๗ – ๘ ชั่วโมง นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้งาน
            โทรศัพท์มือถือในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย ๖.๔ ชั่วโมงต่อวัน

            ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารได้เข้ามามี
            บทบาทในชีวิตประจ�าวันของประชาชนอย่างมาก และในขณะเดียวกันก็อาจส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว
            และข้อมูลส่วนบุคคลได้ง่ายมากขึ้นเช่นเดียวกัน โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ส�านักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการ

            โทรคมนาคม ส�านักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้รับเรื่องร้องเรียน
            ในประเด็นข้อมูลสิทธิส่วนบุคคล จ�านวน ๑๗ เรื่อง ซึ่งมากกว่าปี ๒๕๕๘ ที่มีจ�านวน ๘ เรื่อง และปี ๒๕๕๗ ที่มีจ�านวน ๗ เรื่อง
                                                                                                              ๑๐๑
            และในปีเดียวกันนี้ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล จ�านวน ๕ ค�าร้อง จ�าแนกเป็น
            การอ้างว่าเป็นการกระท�าของเอกชนจ�านวน ๓ ค�าร้อง ได้แก่ กรณีกล่าวอ้างว่าถูกน�าเอารูปภาพใบหน้าจากการท�าศัลยกรรม
            ไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต  กรณีกล่าวอ้างว่าพบวัตถุรูปร่างลักษณะคล้ายกล้องวงจรปิดภายในห้องน�้าของร้านอาหารของ
                                     ๑๐๒
                                   ๑๐๓
            สถานีบริการน�้ามันแห่งหนึ่ง  และกรณีกล่าวอ้างว่านายจ้างน�าข้อมูลของลูกจ้างไปเผยแพร่ ท�าให้ลูกจ้างถูกปฏิเสธการรับเข้า
            ท�างานกับนายจ้างรายใหม่  และการอ้างว่าเป็นการกระท�าของหน่วยงานของรัฐ จ�านวน ๒ ค�าร้อง ได้แก่ กรณีกล่าวอ้างว่า
                                  ๑๐๔
                                                                                             ๑๐๕
            ส�านักงานตรวจคนเข้าเมืองแถลงข่าวการจับกุมขบวนการค้ามนุษย์โดยมีการเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียหาย และกรณีกล่าวอ้างว่า
                                                                               ๑๐๖
            สถานีต�ารวจนครบาลแห่งหนึ่งติดตั้งกล้องวงจรปิดโดยหันทิศทางไปยังบ้านของผู้ร้อง  นอกจากนี้ ในสังคมออนไลน์ยังปรากฏ
            กรณีที่ถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวคือ ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ถูกพนักงานของผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์
            เคลื่อนที่รายหนึ่งน�าข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับการโทรและการรับสายสนทนา รวมถึงพิกัดสถานที่ที่มีการใช้งานไปให้บุคคลอื่น
            เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง ท�าให้เกิดความหวาดระแวงและไม่สามารถด�ารงชีวิตได้อย่างปกติสุข
                                                                                          ๑๐๗

            ๓.๓.๔ การประเมินสถานการณ์                                                                                สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                     สิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองทั้งใน ICCPR และรัฐธรรมนูญ
            แต่หากพิจารณาในเชิงโครงสร้างแล้วการตรากฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิดังกล่าวของประเทศไทยยังไม่

            สอดคล้องเพียงพอกับหลักการเช่นว่านั้นมากนัก แม้จะมีกฎหมายที่สามารถให้ความคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว
            และข้อมูลส่วนบุคคลหลายฉบับ แต่ก็ใช้บังคับได้เฉพาะเรื่องเท่านั้น ประกอบกับปัจจุบันยังขาดกฎหมายที่จะให้
            ความคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไป ท�าให้เกิดการคุ้มครองที่ไม่สอดคล้อง  บทที่
            เพียงพอกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร ยิ่งไปกว่านั้น ในระหว่างที่สิทธิประการนี้ไม่ได้รับ   ๓
            การคุ้มครองตามกฎหมายเท่าที่ควรนั้น รัฐกลับมีความพยายามแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าความผิด

            เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งมีบทบัญญัติบางประการที่อาจกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเกิน


                     ๑๐๐  จาก ผลส�ารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙, โดย ส�านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน), ๒๕๕๙, สืบค้นจาก
            http://www.etda.go.th/download3publishing/59
                     ๑๐๑  จาก สถิติเรื่องร้องเรียน, โดย ส�านักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ส�านักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
            และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, สืบค้นจาก http://tcp.nbtc.go.th
                     ๑๐๒  ค�าร้องที่ ๗๔๐/๒๕๕๙
                     ๑๐๓  ค�าร้องที่ ๔๓๒/๒๕๕๙
                     ๑๐๔  ค�าร้องที่ ๑๔๓/๒๕๕๙
                     ๑๐๕  ค�าร้องที่ ๖๔๙/๒๕๕๙
                     ๑๐๖  ค�าร้องที่ ๒๒๗/๒๕๕๙
                     ๑๐๗  จาก ผู้บริหาร AIS เข้าชี้แจง กสทช. แล้ว กรณีพนักงานน�าข้อมูลลูกค้าไปเปิดเผย, โดย สาลินี ทินธ�ารง, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://www.beartai.com/news/
            promotion-news/121300


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  89  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95