Page 91 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 91

ความจ�าเป็น โดยเฉพาะต่อสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในความเป็นส่วนตัว ดังนั้น
        จึงอาจกล่าวได้ว่าการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลในเชิงโครงสร้างของกฎหมายยังคงด�าเนินไป

        โดยขาดความสมดุลและขาดความสอดคล้องต่อหลักการของ ICCPR และรัฐธรรมนูญ


                 แม้ในปี ๒๕๕๘ รัฐบาลจะได้มีความพยายามในการยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ แล้วก็ตาม แต่
        ในปี ๒๕๕๙ ร่างพระราชบัญญัตินี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่ามีการพิจารณาคืบหน้าไปอย่างไร ทั้งที่เป็นร่างกฎหมายที่มีเจตนารมณ์
        ในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลและสร้างภาระหน้าที่ต่อองค์กรหรือหน่วยงาน ซึ่งมีหน้าที่ในการด�าเนินการต่อข้อมูลส่วนบุคคล

        และยังมีบทบัญญัติบางประการที่สร้างความกังวลว่าไม่อาจให้ความคุ้มครองสิทธิของประชาชนได้อย่างเหมาะสม จึงถือได้ว่า
        เป็นกระบวนการยกร่างกฎหมายที่มีความล่าช้าและไม่เป็นที่รับทราบของสังคมมากนัก ทั้งนี้ สังเกตได้จากการที่คณะรัฐมนตรี
        ได้มีมติเห็นชอบต่อหลักการของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดร่างกฎหมายดิจิทัล

        เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นเรื่องเสร็จที่ ๑๑๓๕/๒๕๕๘ จนกระทั่ง
        ในปี ๒๕๕๙ ก็ยังอยู่ระหว่างการทบทวนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


                 ประเทศไทยก�าลังประสบปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่องและ
        มีแนวโน้มเพิ่มจ�านวนมากขึ้น หากเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารมีความก้าวหน้าและเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนสังคมและ

        วิถีชีวิตของบุคคลมากขึ้นเท่าใด โดยที่ประเทศไทยยังขาดกลไกหรือมาตรการที่จะให้ความคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและ
        ข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งบุคคลยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการใช้สิทธิของตนโดยค�านึงถึงสิทธิของบุคคลอื่น
        อย่างเหมาะสมเพียงพอ โอกาสที่สิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการถูกละเมิด

        ไม่ว่าจะโดยพลการหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของรัฐในการด�าเนินการพัฒนาความรู้
        ความเข้าใจต่อผู้ด�าเนินการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
        ตลอดจนการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การสร้างจิตส�านึกและความตระหนักในสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคล
        เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร และการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ
        ในอนาคตต่อไป



         ๓.๔  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุม


                                       ๓.๔.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน

                                               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ รับรองสิทธิ
                                       และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไว้ในมาตรา ๔๕ ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพ
                                       ในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมาย
                                       โดยวิธีอื่น การจ�ากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระท�ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจตาม

                                       บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
                                       เกียรติยศชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษา
                                       ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับ

        ความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน โดยรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๕๗ ยังคงให้การรับรองว่า
                                                                                                          ๑๐๘
        สิทธิและเสรีภาพที่เคยได้รับมาย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยร่างรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับลงประชามติ)
        ยังรับรองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไว้ในมาตรา ๓๔ ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
        การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจ�ากัดเสรีภาพดังกลาวจะกระท�ามิได้ เว้นแต่โดย



                 ๑๐๘  ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  90  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96