Page 92 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 92
อาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะ เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน”
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and
Political Rights: ICCPR) ข้อ ๑๙ ก�าหนดให้บุคคลมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง มีสิทธิในเสรีภาพ
แห่งการแสดงออกรวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นทุกประเภท โดยการใช้สิทธิ
และเสรีภาพดังกล่าวต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษควบคู่ไปด้วย และรัฐอาจจ�ากัดสิทธิเช่นว่าได้ ซึ่งต้องบัญญัติไว้ใน
กฎหมายด้วยเหตุผลความจ�าเป็นต่อ (ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น และ (ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ
หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน
คณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศฯ ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและ
การแสดงออกว่า เสรีภาพดังกล่าวเป็นสิทธิที่ไม่อาจแทนที่ได้เพื่อการพัฒนามนุษย์โดยสมบูรณ์ เป็นหลักการที่จ�าเป็นยิ่งต่อทุกสังคม
เพื่อวางหลักฐานสังคมที่มีเสรีภาพและเป็นประชาธิปไตย เสรีภาพทั้งสองด้านนี้ต่างเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยที่เสรีภาพในการแสดงออก
จะท�าหน้าที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่การแลกเปลี่ยนและการพัฒนาของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเป็นปัจจัยส�าคัญ
ต่อการตระหนักซึ่งหลักการแห่งความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่ส่งผลส�าคัญยิ่งต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ดี
การใช้สิทธิในเสรีภาพดังกล่าวต้องด�าเนินไปพร้อมหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นพิเศษ กล่าวคือ การเคารพสิทธิและชื่อเสียง
ของบุคคลอื่น หรือการปกป้องความมั่นคงของประเทศ หรือความสงบเรียบร้อยของสังคม หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรมของสังคม
๓.๔.๒ สถานการณ์ทั่วไป
หลังเกิดเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองอย่างยืดเยื้อยาวนานส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม มีการชุมนุม
ปิดถนนสายหลัก สถานที่ราชการ มีการใช้อาวุธสงครามจากบุคคลไม่ทราบฝ่าย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจ�านวนมาก จนในที่สุด คสช.
น�าโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้าควบคุมอ�านาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ หลังจากนั้น คสช.
ได้ให้ทุกฝ่ายยุติการชุมนุม มีการออกประกาศ/ค�าสั่ง คสช. จ�านวนมาก ส่วนหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารราชการแผ่นดินที่ผ่านมา สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
เช่น การค้ามนุษย์ ปัญหานโยบายจ�าน�าข้าว ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
โดยเฉพาะสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความเห็น การชุมนุมทางการเมือง ได้แก่ ค�าสั่ง คสช. ฉบับที่ ๗/๒๕๕๗ ห้ามมิให้มั่วสุม
หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจ�านวนตั้งแต่ ๕ คน ขึ้นไป รวมถึงการเรียกให้บุคคลมารายงานตัวตลอดจนการก�าหนดให้ความผิด
บางประเภทอยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร ซึ่งเมื่อเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองมีความคลี่คลายในระดับหนึ่ง
จึงได้มีค�าสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๕๕/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙ ให้การกระท�าผิดที่อยู่ในอ�านาจ
พิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหารให้อยู่ในอ�านาจการพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตั้งแต่วันที่ค�าสั่งดังกล่าวใช้บังคับ บทที่
แต่การกระท�าผิดก่อนหน้านั้นยังคงต้องอยู่ในการพิพากษาคดีของศาลทหารซึ่งไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาค�าพิพากษาได้ ๓
ในการน�าเสนอรายงานการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ภายใต้กระบวนการ UPR รอบที่ ๒ ต่อที่ประชุม
คณะท�างาน UPR สมัยที่ ๒๕ ที่นครเจนีวาเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คณะผู้แทนไทยรับข้อเสนอแนะจากประเทศต่าง ๆ
จ�านวน ๑๘๑ ข้อ ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก เช่น ประกันว่า
สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมได้รับการคุ้มครองและเคารพอย่างเต็มที่ ท�าให้กฎหมายภายในเกี่ยวกับเสรีภาพ
ในการแสดงออกสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ เคารพเสรีภาพของสื่อมวลชนและส่งเสริมมาตรการเพื่อปกป้องเสรีภาพของ
สื่อมวลชน การสอบสวนและด�าเนินการทางศาลกรณีการใช้ความรุนแรงต่อสื่อมวลชน เป็นต้น ส�าหรับข้อเสนอแนะที่ไทยรับกลับมา
พิจารณา จ�านวน ๖๘ ข้อ ในประเด็นการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก เช่น การยกเลิก
ข้อจ�ากัดมาตรา ๖๑ กฎหมายประชามติและค�าสั่ง คสช. ที่ ๗/๒๕๕๗ ทบทวนกฎหมาย ที่เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 91 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙