Page 98 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 98

โดยที่คณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองให้ความส�าคัญต่อ
            เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกว่า มีความจ�าเป็นต่อความโปร่งใสและการตรวจสอบได้ของรัฐ และจ�าเป็น

            ต่อการประกันสิทธิต่าง ๆ ในกติการะหว่างประเทศดังกล่าว และได้วางแนวทางการรอนสิทธิในเสรีภาพในการแสดงความ
            คิดเห็นและการแสดงออกว่า การรอนสิทธิด้วยเหตุแห่งความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยสาธารณะ หรือด้วยเหตุ
            แห่งสาธารณสุขและศีลธรรมนั้น รัฐจ�าเป็นต้องด�าเนินการโดยมีวัตถุประสงค์อันชอบธรรมและด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
            การจ�ากัดสิทธิด้วยเหตุดังกล่าวต้องเป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ได้สัดส่วน มีความจ�าเพาะของกรณีที่จะส่งผลกระทบ
            ต่อเหตุเช่นว่านั้น มีความเชื่อมโยงโดยตรงและส่งผลชัดเจนจากการใช้สิทธินั้น และต้องมั่นใจว่าไม่เป็นการจ�ากัดข้อมูลสู่

            สาธารณะของสื่อ นักวิชาการ นักสิ่งแวดล้อม หรือนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณะอย่างชอบธรรม


                     ดังนั้น จะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙ และพระราชบัญญัติ

            การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีบทบัญญัติที่ให้อ�านาจเจ้าหน้าที่รัฐใช้ดุลพินิจในการบังคับใช้กฎหมายที่จ�ากัดสิทธิและ
            เสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุมอย่างกว้างขวาง และไม่ชัดเจนรัฐควรจะต้องคุ้มครองและส่งเสริมให้
            ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และควรมีการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย
            (Regulatory Impact Analysis: RIA) ที่เป็นการจ�ากัดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว เพื่อน�าไปสู่การพัฒนาคุณภาพของกฎหมาย
            ให้มีสาระส�าคัญครบถ้วนและได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนมากยิ่งขึ้น จะสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาการทบทวน

            ความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่มีเจตนารมณ์ก�าหนดให้ผู้รักษาการตามกฎหมายต่าง ๆ มีหน้าที่จัดให้มีการ
            พิจารณาทบทวนความเหมาะสมของบทบัญญัติของกฎหมายทุกฉบับ ทุกรอบระยะเวลา รวมทั้งก�าหนดหลักเกณฑ์วิธีการและ
            ระยะเวลาด�าเนินการดังกล่าวให้ชัดเจนสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการยกระดับ

            ความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม  รวมถึงรัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จ�าเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุง
                                                    ๑๒๐
            กฎหมายที่หมดความจ�าเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการด�ารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพ
            โดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และด�าเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและ
            สามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มี
            การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ ตามที่ก�าหนด  สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

            ไว้ในมาตรา ๗๗ แห่งร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับลงประชามติ) ๑๒๑










                                                                                                                   บทที่
                                                                                                                    ๓




















                     ๑๒๐  ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก (หน้า ๙๑)
                     ๑๒๑  ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  97  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103