Page 88 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 88

มีหลักการและเหตุผลที่สอดคล้องกันคือ ความก้าวหน้า
            ของเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารท�าให้การเก็บใช้และ

            เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสามารถท�าได้โดยง่ายสะดวกรวดเร็ว
            แต่อาจน�ามาซึ่งความเดือดร้อนร�าคาญหรือความเสียหาย
            ในกรณีที่มีการน�าไปแสวงหาผลประโยชน์หรือเปิดเผย
            โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือแจ้งล่วงหน้าแม้ว่าจะได้มี
            กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในบางเรื่อง แต่ก็ยัง

            ไม่มีหลักเกณฑ์กลไกหรือมาตรการก�ากับดูแลเกี่ยวกับการ
            ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นหลักการทั่วไป
            จึงจ�าเป็นต้องตรากฎหมายนี้ใช้บังคับ นอกจากนี้ มีบทบัญญัติที่ใกล้เคียงกัน เช่น การก�าหนดนิยามค�าว่า “ข้อมูล

            ส่วนบุคคล”  และ  “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล”  การก�าหนดให้เป็นกฎหมายกลางว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูล
            ส่วนบุคคล การก�าหนดที่มาองค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การก�าหนด
            หลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในขั้นตอนการเก็บใช้และเปิดเผย การก�าหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล การก�าหนด
            หน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล การก�าหนดขั้นตอนและการพิจารณาเรื่องร้องเรียน การก�าหนดความรับผิด เป็นต้น
            แต่อย่างไรก็ตาม ตามแนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ดังกล่าว ยังมีข้อห่วงกังวลหลาย

            ประการที่ไม่อาจท�าให้เกิดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการก�าหนดรายละเอียดและหลักการ
            ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในขั้นตอนการเก็บ ใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งในแง่หนึ่งเป็นการให้
            ความคุ้มครองแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แต่ในอีกแง่หนึ่ง ก็เป็นขั้นตอนที่อาจสร้างภาระให้กับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

            นอกจากนี้ ยังมีข้อห่วงกังวลต่อการก�าหนดข้อยกเว้นในการด�าเนินการต่อข้อมูลส่วนบุคคลที่มีขอบเขตอย่างกว้างขวาง
            จนอาจท�าให้เกิดผลกระทบต่อหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเกินความจ�าเป็นโดยพลการ ๙๕


            ๓.๓.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
                     ดังที่กล่าวมาแล้วว่า สิทธิในความเป็นส่วนตัวและ                                                  สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

            การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ
                                                            ๙๖
            แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๕
            และในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

                                        ๙๗
            .... (ฉบับลงประชามติ) มาตรา ๓๒  หากพิจารณาบทบัญญัติ
            ทั้งสองประการ จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอยู่บ้าง กล่าวคือ

                     ๙๕  ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... (ส�านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วเรื่องเสร็จที่ ๑๑๓๕/๒๕๕๘)
                           มาตรา ๑๗ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะกระท�าการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ให้ความยินยอม  บทที่
                                                                                                                    ๓
            ไว้ก่อนหรือในขณะนั้น เว้นแต่บทบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้กระท�าได้
                           การขอความยินยอมต้องท�าเป็นหนังสือหรือท�าโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่โดยสภาพไม่อาจขอความยินยอมด้วยวิธีการดังกล่าวได้
                                ...........
                           มาตรา ๒๑ ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลท�าการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่
                           (๑) ...........
                           (๔) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
                           (๕) กรณีอื่นตามที่ก�าหนดในกฎกระทรวง
                     ๙๖  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๕
                          สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง
                          การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคล
            ในครอบครัวเกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระท�ามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
                          บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
                     ๙๗  ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... (ฉบับลงประชามติ) มาตรา ๓๒
                          บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว
                          การกระท�าอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการน�าข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระท�ามิได้ เว้นแต่โดย
            อาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จ�าเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ
                     ซึ่งปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐

                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  87  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93