Page 89 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 89

๑) การบัญญัติรับรองสิทธิในความเป็นส่วนตัวรัฐธรรมนูญฯ ๒๕๕๐ มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่งได้บัญญัติให้สิทธิ
        ของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวได้รับความคุ้มครอง ในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๓๕

        วรรคหนึ่ง ได้รับรองสิทธิในความเป็นส่วนตัวเช่นเดียวกัน แต่การวางต�าแหน่งของถ้อยค�ามีการเปลี่ยนแปลงไป คือ ได้ก�าหนด
        ให้ค�าว่า “สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว” เป็นค�าส�าคัญล�าดับแรก และตามด้วยค�าว่า “เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว”
        ซึ่งเป็นการท�าให้การรับรองสิทธิในความเป็นส่วนตัวในรัฐธรรมนูญเกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับ ICCPR ข้อ ๑๗ มากขึ้น
                 ๒) รัฐธรรมนูญฯ ๒๕๕๐ มาตรา ๓๕ วรรคสอง ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวจากการละเมิดหรือการ
        กระท�าในลักษณะที่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพ ไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน เว้นแต่กรณีที่เป็น

        ประโยชน์ต่อสาธารณะ อีกทั้งความในวรรคสามได้บัญญัติคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคล
        ตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนในร่างรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๓๕ วรรคสอง ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว รวมถึง
        ข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นเนื้อความในวรรคเดียวกันว่า การละเมิดหรือการกระท�าใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อสิทธิในความเป็น

        ส่วนตัว และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าในทางใดจะกระท�าไม่ได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจตามกฎหมายเท่าที่
        จ�าเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งบทบัญญัติส่วนนี้ถือว่าเป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวอย่างกว้าง โดย
        ไม่ระบุลักษณะของการละเมิดหรือการกระท�าใด ๆ นอกจากนี้ การก�าหนดข้อยกเว้นดังกล่าวถือว่าเป็นการสร้างเงื่อนไขให้การ
        ตรากฎหมายที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือข้อมูลส่วนบุคคลต้องค�านึงถึงหลักความจ�าเป็น แม้จะเป็นเรื่อง
        ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะก็ตาม ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ�ากติการะหว่างประเทศฯ

        ข้อ ๑๗ ที่ว่า การแทรกแซงใด ๆ ก็ตามต่อสิทธิประการนี้ไม่อาจกระท�าได้ยกเว้นในกรณีที่มีกฎหมายอนุญาตให้กระท�าได้
        และต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติ จุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ตาม ICCPR และรัฐธรรมนูญ
        ที่ให้การรับรองและคุ้มครองไว้



                 หลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
        ในปี ๒๕๕๘ แล้ว คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานอื่น
        ที่เกี่ยวข้องน�าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวกลับไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยตลอด ปี ๒๕๕๙ ที่ผ่านมายังไม่มีการเปิดเผยความคืบหน้า
        ที่ชัดเจนว่าขั้นตอนการพิจารณาและเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติฯ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ได้มีการ

        เสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ
        ว่าด้วยการกระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งมีบทบัญญัติบางประการก�าหนดให้รัฐมีอ�านาจในการเข้าถึง
        หรือระงับข้อมูลการติดต่อสื่อสารของประชาชนได้อย่างกว้างขวางโดยไม่มีเงื่อนไขการใช้ดุลพินิจที่ชัดเจน เช่น อ�านาจการระงับ

        การเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายใด แต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ
        ประชาชน เป็นต้น จนท�าให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า อาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเกินความจ�าเป็น
        โดยเฉพาะสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล
        ก่อให้เกิดการรณรงค์เพื่อคัดค้านการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวผ่านเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง
                                                                                                           ๙๘
        ในประเด็นเดียวกันนี้ กสม. ได้มีรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายไปยัง

        สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี โดยเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ
        ที่มีการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ควรบังคับใช้โดยค�านึงถึงความสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่มุ่งป้องกัน ก�าหนดฐาน
        ความผิดและโทษส�าหรับการกระท�าความผิดต่อตัวระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ในกรณีที่เป็นบทบัญญัติที่อาจมีผลกระทบต่อ

        สิทธิและเสรีภาพของประชาชน จะต้องบังคับใช้เป็นการทั่วไป โดยเปิดเผย และต้องกระท�าเท่าที่จ�าเป็น ๙๙





                 ๙๘  จาก หยุด#พรบ.คอม หยุดกฎหมายล้วงข้อมูลส่วนบุคคล, โดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.change.org/p/หยุด-พ.ร.บ.คอม-หยุดกฎหมาย
        ล้วงข้อมูลส่วนบุคคล
                 ๙๙  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, รายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการ
        กระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... , รายงานเลขที่ ๑๖๐/๒๕๕๙


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  88  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94