Page 87 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 87
แม้การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและการก�าหนดนโยบายของภาค
รัฐจะก่อให้เกิดผลดีไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม
หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบ
ด้านสิทธิมนุษยชนได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะสิทธิในความเป็นส่วนตัวและการ
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ท�าได้สะดวกและ
รวดเร็ว การน�าข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประมวลผลหรือเปิดเผย ท�าให้บุคคลผู้เป็น
เจ้าของข้อมูลได้รับความเสียหาย เช่น ความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย สิทธิ
และเสรีภาพของบุคคล หรือการน�าข้อมูลข่าวสารไปใช้ประโยชน์ในทางพาณิชย์
โดยปราศจากการได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของข้อมูล เป็นต้น ตลอดจน
การท�าให้เกิดความเสียหายต่อความเป็นอยู่ในชีวิตส่วนตัว รวมทั้งการสร้าง
ความเดือดร้อนร�าคาญอันเป็นการละเมิดหรือก้าวล่วงความเป็นส่วนตัว
ของบุคคล และในขณะเดียวกันหากรัฐหรือเอกชน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
การด�าเนินการต่อข้อมูลส่วนบุคคลอาจกระท�าการใด ๆ ต่อข้อมูลส่วนบุคคลนั้นโดยไม่ค�านึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นการ
คุกคามสิทธิความเป็นส่วนตัวที่ ICCPR และรัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้
ทั้งนี้ จากการส�ารวจสถานการณ์การละเมิดความเป็นส่วนตัวในรอบ ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ของเครือข่ายพลเมืองเน็ต ๙๑
สามารถสรุปได้ว่า การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและการบริการออนไลน์ต่าง ๆ ท�าให้ข้อมูลส่วนบุคคลมีความส�าคัญ ผู้ใช้บริการ
รู้สึกว่าตนอาจได้รับผลกระทบได้หลายด้าน ตั้งแต่การได้รับความเดือดร้อนร�าคาญ ไปจนถึงการสูญเสียทรัพย์สินและ
ชื่อเสียง เนื่องจากอินเตอร์เน็ตและการบริการออนไลน์ต่าง ๆ นั้น เอื้อต่อการเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลได้ง่าย
โดยในเบื้องต้น สามารถจ�าแนกการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลได้ ๔ รูปแบบ ได้แก่ (๑) การละเมิด
สิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลโดยภาคธุรกิจเอกชนซึ่งเกิดจากการส่งต่อข้อมูล (๒) การละเมิดสิทธิในความ
เป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐ (๓) การละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลจากการ
น�าเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน และ (๔) การละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างผู้ใช้บริการ
ด้วยกันเอง
ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลหลายฉบับ
อาทิ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับความผิดฐานเปิดเผยความลับ
และความผิดฐานหมิ่นประมาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด ซึ่งล้วนเป็นกฎหมายที่สามารถใช้บังคับกับ
ความผิดและการเยียวยาความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะกรณีเท่านั้น
แต่ยังไม่มีกฎหมายฉบับใดที่บัญญัติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไป
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีความพยายามในการยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... อยู่หลายฉบับ
๙๒
เช่น ฉบับที่เสนอโดยส�านักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่เสนอโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ
๙๓
ฉบับที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ดังกล่าว
๙๔
๙๑ จาก การละเมิดความเป็นส่วนตัวออนไลน์ในสังคมไทย พ.ศ. ๒๕๕๖, โดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต, ๒๕๕๖, สืบค้นจาก https://thainetizen.org/wp-content/
uploads/2014/03/thainetizen-privacy-report-2013.pdf
๙๒ คณะรัฐมนตรีเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ และขอถอนกลับไปพิจารณาทบทวนอีกครั้งเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๘
๙๓ เป็นหนึ่งในชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติเห็นชอบในหลักการ
ร่างกฎหมายเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗
๙๔ ร่างพระราชบัญญัติที่ส�านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เรื่องเสร็จที่ ๑๑๓๕/๒๕๕๘
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 86 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙