Page 86 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 86
แทรกแซงหรือลบหลู่เช่นว่านั้น และตามนัยดังกล่าว
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ�ากติการะหว่าง
๘๘
ประเทศฯ ได้มีความเห็นที่ส�าคัญ คือ ICCPR ข้อ ๑๗
ระบุถึงสิทธิของบุคคลที่จะได้รับการคุ้มครองจากการถูกคุกคาม
โดยพลการหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อความเป็นส่วนตัว
ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสาร ตลอดจน
ต่อการลบหลู่ต่อชื่อเสียงและเกียรติยศของบุคคลอื่นนั้น
โดยค�าว่า “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” หมายความว่า
การแทรกแซงใด ๆ ก็ตามไม่อาจกระท�าได้ยกเว้นในกรณีที่มีกฎหมายอนุญาตให้กระท�าได้ การแทรกแซงโดยรัฐจะกระท�าได้
บนพื้นฐานของกฎหมายซึ่งก็ต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติ จุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ของกติการะหว่างประเทศฯ
ส่วนค�าว่า “โดยพลการ” เกี่ยวพันกับการคุ้มครองสิทธิตาม ข้อ ๑๗ ในความเห็นของคณะกรรมการประจ�ากติกา
ระหว่างประเทศฯ ค�านี้อาจจะขยายรวมถึงการแทรกแซงตามที่กฎหมายก�าหนด แนวคิดเรื่องโดยพลการนั้นมุ่งที่จะ
ประกันว่าแม้แต่การแทรกแซงโดยชอบด้วยกฎหมายก็ต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติ ความมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์
นอกจากนี้ รัฐภาคีมีหน้าที่ที่จะไม่เข้าไปแทรกแซงในลักษณะที่ขัดกับ ข้อ ๑๗ ของกติกา ICCPR และต้องมีการ
ก�าหนดกรอบกฎหมายห้ามการกระท�าเช่นนั้นโดยบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคล การรวบรวมและมีไว้ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล
ในคอมพิวเตอร์ ธนาคารข้อมูล หรือเครื่องมืออื่นใดไม่ว่าด้วยเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลเอกชนหรือองค์กรต้องถูกควบคุม
โดยกฎหมาย รัฐต้องด�าเนินมาตรการประกันว่าข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตส่วนบุคคลจะไม่ตกไปอยู่ในมือของบุคคลที่ไม่มีอ�านาจ
ตามกฎหมายในด�าเนินการใด ๆ ต่อข้อมูลนั้น และต้องไม่ถูกน�าไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่เป็นไปตามกติการะหว่างประเทศฯ
นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ยังได้ให้การรับรองสิทธิในความเป็นส่วนตัว
และข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในมาตรา ๓๕ อีกด้วย
๓.๓.๒ สถานการณ์ทั่วไป
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการ สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ของระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารและการเผยแพร่
๘๙
ข้อมูลต่าง ๆ สามารถด�าเนินการเคลื่อนย้ายและเชื่อมโยงกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วไม่จ�ากัดเวลาและสถานที่ นอกจากนี้
โลกของอุตสาหกรรมก�าลังก้าวสู่การปฏิวัติครั้งใหม่ ที่เรียกว่า “อุตสาหกรรม ๔.๐” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งส�าคัญที่มี
แนวคิดคือ โลกก�าลังจะเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ ภายใน ๒๐ ปีข้างหน้า ท�าให้หลายประเทศตื่นตัวกับผลกระทบ
ที่จะตามมา เนื่องจากปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มีการเชื่อมโยงกันอย่างไร้พรหมแดนในทุกมิติ ทั้งความร่วมมือทางการค้า
ความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในขณะเดียวกัน ย่อมก่อให้เกิด บทที่
การแข่งขันที่สูงขึ้นด้วย ด้วยเหตุผลประการหลังนี้เอง หลายประเทศจึงจ�าเป็นต้องปรับตัวสู่การพัฒนาในยุคอุตสาหกรรม ๔.๐ ๓
เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ รัฐบาลจึงได้ก�าหนดนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล และนโยบาย
๙๐
ประเทศไทย ๔.๐ เพื่อให้เป็นกลไกที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศโดยอาศัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่จะต้องมีการประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาในการด�าเนินการประกอบการและการบริหารจัดการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
๘๘ จาก ความเห็นทั่วไปว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่รับรองโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนส�านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
(เอกสารแปล) (น. ๔๙ – ๕๑), โดย มุกดา วรรณศักดิ์บุญ, ๒๕๔๕, นครปฐม: ส�านักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล.
๘๙ จาก ปัญหาและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, เอกสารวิชาการส่วนบุคคลประกอบการอบรมหลักสูตรผู้พิพากษาศาลชั้นต้น, สถาบันพัฒนา
ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (น.๑), โดย ทวีเกียรติ ดุริยะประพันธ์, ๒๕๔๗.
๙๐ จาก Academic Focus ประเทศไทย ๔.๐ (น.๑), โดย ส�านักวิชาการ ส�านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๕๙, กรุงเทพฯ: ส�านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 85 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙