Page 85 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 85
ทราบชะตากรรมของผู้ถูกควบคุมตัวได้ว่าจะถูกน�าตัวไปที่ใดโดยกลุ่มบุคคลใด อันเป็นการกระท�าที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิด
สิทธิมนุษยชนประการอื่น อีกทั้งเป็นที่คลางแคลงของสังคมถึงพฤติการณ์ในการควบคุมหรือการจับกุมของเจ้าหน้าที่รัฐ
ซึ่งการควบคุมตัวหรือการจับกุมบุคคล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗/๑ ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิ
ในการขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งถูกจับ หรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุม
ในโอกาสแรก สิทธิในการพบและปรึกษาทนาย สิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติ ฯลฯ มาตรา ๘๓ เจ้าพนักงาน
ซึ่งท�าการจับต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ พร้อมทั้งแจ้งสิทธิที่จะไม่ให้การหรือ
ให้การก็ได้ สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ สิทธิที่จะให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึง
การจับกุม ซึ่งสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองจากรัฐ รัฐต้องให้ความส�าคัญ
ต่อกระบวนการและวิธีการในการควบคุมตัวหรือจับกุมบุคคลเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน อีกทั้งรัฐควรที่จะยกเลิก
ค�าสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ เพื่อไม่ให้มีการใช้อ�านาจอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างเช่นที่ผ่านมา
การใช้เครื่องพันธนาการ ตามข้อก�าหนดขั้นต�่า
ขององค์การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (United
Nations Standard Minimum Rules for the Treatment
of Prisoners) (ข้อก�าหนดแมนเดลา - Mandela Rules)
ปี ๒๕๕๘ ข้อ ๔๗ ก�าหนดห้ามเครื่องพันธนาการใด ๆ ในลักษณะ
ที่ย�่ายีศักดิ์ศรีหรือก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่สามารถใช้
เพื่อป้องกันการหลบหนีในระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ต้องขัง
แต่จะต้องถอดออกเมื่อผู้ต้องขังปรากฏตัวต่อหน้าศาล
หรือเจ้าพนักงานฝ่ายบริหาร อย่างไรก็ตาม เครื่อง
พันธนาการอาจใช้ได้เฉพาะเมื่อรูปแบบการควบคุมอย่างอื่นที่รุนแรงน้อยกว่าใช้ไม่ได้ผลในการป้องกันความเสี่ยง
ที่อาจเกิดขึ้นหากไม่มีการพันธนาการจ�ากัดความเคลื่อนไหว วิธีพันธนาการจะต้องมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงน้อย
ที่สุด เท่าที่จ�าเป็น และสมเหตุผลแก่การควบคุมการเคลื่อนไหวของผู้ต้องขัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับและลักษณะ
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เครื่องพันธนาการจะต้องใช้ได้เฉพาะในระยะเวลาที่ก�าหนดเท่านั้น และให้มีการปลดเครื่องพันธนาการ
ออกโดยเร็วเมื่อความเสี่ยงเนื่องจากการไม่พันธนาการจ�ากัดการเคลื่อนไหวหมดสิ้นไปแล้ว และในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์
พุทธศักราช ๒๔๗๙ ได้ก�าหนดห้ามมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง เว้นแต่เมื่อถูกคุมตัวไปนอกเรือนจ�า เจ้าพนักงาน
ผู้มีหน้าที่ควบคุมเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องใช้เครื่องพันธนาการจะเห็นได้ว่า กฎหมายไทยให้อ�านาจเจ้าหน้าที่ในการ
ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขังได้หากต้องน�าตัวออกไปนอกเรือนจ�า แต่การใช้เครื่องพันธนาการมีผลต่อกระทบต่อสิทธิ
ของบุคคล เพื่อให้การปฏิบัติโดยค�านึงถึงสิทธิมนุษยชน หากผู้ต้องขังไม่ได้มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนีหรือไม่มีพฤติการณ์ที่จะ
ก่ออันตรายแก่ตนเองหรือบุคคลอื่นอาจจะไม่ใช้เครื่องพันธนาการ หรือหากจ�าเป็นต้องใช้ควรที่จะมีการปกปิดที่มิดชิด เช่น
เอาผ้าคลุมปกปิดเครื่องพันธนาการเพื่อป้องกันผู้ต้องหาหรือจ�าเลยรู้สึกว่าถูกประจาน เป็นต้น
๓.๓ สิทธิในความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
๓.๓.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องสิทธิในความเป็นส่วนตัว (Privacy Rights) ในความเป็นอยู่ในครอบครัว เคหสถาน
การติดต่อสื่อสาร ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Right - ICCPR) ข้อ ๑๗ ให้การรับรองว่า บุคคลจะถูก
แทรกแซงความเป็นส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสารโดยพลการหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ และจะถูก
ลบหลู่เกียรติและชื่อเสียงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ ทั้งนี้ บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายมิให้ถูก
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 84 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙