Page 84 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 84
กรณีการน�าตัวผู้ต้องหาว่ากระท�าความผิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน/การน�าตัวไปท�าแผนประกอบค�ารับสารภาพ
ในลักษณะที่เปิดเผยใบหน้า มีความเสี่ยงต่อการถูกรุมประชาทัณฑ์ อันเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหาในการที่จะได้
รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และกระทบต่อเกียรติยศชื่อเสียงนั้น ในเดือนกันยายน ๒๕๕๙ นายกรัฐมนตรีได้สั่งก�าชับ
ไม่ให้น�าตัวผู้ต้องหาออกมาแถลงข่าว โดยให้แถลงเฉพาะผลการด�าเนินงานเท่านั้น
กรณีการตรวจตัวผู้ต้องขังเพื่อค้นหายาเสพติดก่อน
เข้าเรือนจ�าที่มีการตรวจตัวในลักษณะที่ไม่เคารพศักดิ์ศรีความ
เป็นมนุษย์ ไม่มีความมิดชิดเพียงพอ ซึ่งตามมาตรฐานสากล
การตรวจค้นตัวผู้ต้องขังเป็นสิ่งที่ส�าคัญที่ต้องค�านึงถึงศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์และความเป็นส่วนตัวของผู้ถูกค้นด้วย อีกทั้ง
ต้องค�านึงถึงหลักความได้สัดส่วน ความชอบด้วยกฎหมาย และ
ความจ�าเป็นด้วย จะต้องไม่ใช้การค้นเพื่อการคุกคาม ข่มขู่
๘๕
หรือเป็นการล่วงล�้าโดยไม่จ�าเป็นต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ต้องขัง
๘๖
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การค้นตัวที่ล่วงล�้าความเป็นส่วนตัว รวมทั้งการค้นแบบถอดเสื้อผ้าและการค้นตามซอกหลืบต่าง ๆ
ของร่างกาย ให้กระท�าได้เฉพาะกรณีที่จ�าเป็นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น ควรใช้วิธีการที่เป็นทางเลือกอื่นอันเหมาะสมกว่าแทนที่จะใช้
การค้นตัวที่ล่วงล�้าความเป็นส่วนตัวของผู้ต้องขัง ซึ่งหากจ�าเป็นก็ต้องกระท�าในที่ลับ และให้ผู้ค้นเป็นเจ้าหน้าที่ซึ่งผ่าน
การอบรมและมีเพศเดียวกับผู้ต้องขัง การค้นตามซอกหลืบต่าง ๆ ของร่างกายให้กระท�าได้เฉพาะโดยบุคคลากรทางการแพทย์
ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเท่านั้น ไม่ใช่ผู้ที่รับผิดชอบการพยาบาลเบื้องต้น หรือโดยอย่างน้อยต้องเป็นเจ้าหน้าที่ซึ่งผ่าน
การอบรมอย่างเหมาะสมจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ให้เข้าใจถึงมาตรฐานด้านอนามัย สุขภาพ และความปลอดภัย ๘๗
และควรจะเป็นกรณีที่ไม่มีวิถีทางอื่นที่จะตรวจได้แล้วและควรมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนหรือมีความจ�าเป็นที่จะต้องตรวจ อย่างไรก็ตาม
รัฐได้แก้ปัญหานี้โดยการน�าเทคโนโลยีมาใช้ในการรักษาความปลอดภัย “Body Scanner มาใช้กับผู้ต้องขังหญิง”
เพื่อตรวจสอบการลักลอบน�าสิ่งของต้องห้ามเข้าภายในทัณฑสถานหญิง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน
ผู้ต้องขังหญิงได้ แต่เนื่องจากเครื่อง Body Scanner มีราคาสูง ไม่อาจจัดหาได้ทุกเรือนจ�า รัฐจึงควรมีการวางกฎระเบียบ
ในการตรวจค้นตัวที่เหมาะสมเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ส�าหรับการด�าเนินกระบวนการยุติธรรม ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ ฉบับที่ ๓๘/๒๕๕๗ และฉบับที่
๕๐/๒๕๕๗ ซึ่งส่งผลให้พลเรือนต้องอยู่ในอ�านาจการพิจารณาของศาลทหาร ต่อมา ได้มีค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๕๕/๒๕๕๙
ให้พลเรือนที่กระท�าความผิดดังกล่าวนับแต่วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙ อยู่ในอ�านาจการพิจารณาของศาลยุติธรรมซึ่งเป็น
ค�าสั่งที่มีความเหมาะสมในการที่จะไม่น�าพลเรือนขึ้นศาลทหาร อย่างไรก็ตาม รัฐควรก�าหนดให้คดีที่พลเรือนกระท�าความผิด
และอยู่ในอ�านาจศาลทหารที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ควรโอนคดีมายังการพิจารณาของศาลยุติธรรม เพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการ บทที่
ยุติธรรมปกติ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการด�าเนินการในบางประการของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหา จ�าเลย และผู้ต้องขัง ๓
ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าห่วงใยที่รัฐควรตระหนักและให้ความส�าคัญ ดังนี้
การควบคุมตัวตามค�าสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ ที่ให้อ�านาจเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอ�านาจเรียกตัวบุคคล
เพื่อมาสอบถามข้อมูลหรือให้ถ้อยค�าที่เป็นประโยชน์ และมีอ�านาจควบคุมตัวได้ไม่เกิน ๗ วัน ซึ่งยังคงพบการควบคุมตัว
ตามค�าสั่งดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยลักษณะของการควบคุมตัวพบว่า ไม่ได้แจ้งเหตุในการควบคุมตัว ไม่แจ้งสถานที่ควบคุมตัว
ญาติไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ถูกควบคุมตัวได้ในระหว่างการควบคุมตัว นอกจากนี้ ยังพบว่าการจับกุมบุคคลโดย
ถูกบุคคลแต่งกายคล้ายทหารจ�านวนหลายนาย ควบคุมตัวบุคคลขึ้นรถกระบะที่ปิดบังแผ่นป้ายทะเบียนและสังกัดในเวลา
กลางคืน แม้ว่าจะได้มีการน�าตัวผู้ถูกจับไปยังสถานีต�ารวจก็ตาม การควบคุมตัวหรือจับกุมในลักษณะดังกล่าว ไม่สามารถที่จะ
๘๕ ข้อก�าหนดขั้นต�่าขององค์การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (United Nations Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners) (ข้อก�าหนด
แมนเดลา - Mandela Rules) ปี ๒๕๕๘ ข้อ ๕๐
๘๖ แหล่งเดิม (ข้อ ๕๑).
๘๗ แหล่งเดิม (ข้อ ๕๒).
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 83 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙