Page 83 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 83
การใช้เครื่องพันธนาการ กรณีนักศึกษา ๑๓ คน ถูกจับกุมฐานฝ่าฝืนค�าสั่ง คสช. ฉบับที่ ๓/๒๕๕๘ ข้อ ๑๒
เรื่อง ห้ามชุมนุมทางการเมือง พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๖๑ (๑)
วรรคสอง และวรรคสาม และความผิดตามประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ฉบับที่ ๒๕/๒๕๔๙ กรณีไม่ยอมพิมพ์
ลายนิ้วมือตามค�าสั่งเจ้าพนักงาน เนื่องจากการแจกเอกสารรณรงค์ไม่รับประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ย่านนิคมบางพลี เมื่อวันที่
๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ทั้งนี้ นักศึกษา ๖ คนได้รับอนุญาตประกันตัวตามค�าขอ แต่ยังมีนักศึกษา ๗ คนที่ไม่ขอประกันตัว
พนักงานสอบสวนน�านักศึกษาทั้ง ๗ คนไปควบคุมตัวไว้ที่เรือนจ�าพิเศษกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๙
เป็นต้นมา โดยเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ พนักงานสอบสวนได้น�านักศึกษาทั้งเจ็ดคนที่ไม่ได้ขอประกันตัวเข้ายื่นค�าร้อง
ขอฝากขังต่อศาลทหาร โดยในการน�าตัวจากเรือนจ�ามาศาลทหารนั้นปรากฏว่ามีการใส่กุญแจข้อเท้าทั้งสองข้างปรากฏต่อ
หน้าสาธารณชนและสื่อมวลชน ๘๒
การตรวจร่างกายผู้ต้องขังหญิงเพื่อค้นหายาเสพติดก่อนเข้าเรือนจ�าในลักษณะที่ไม่มิดชิด และไม่ใช่กรณีนักโทษ
คดียาเสพติด เช่น กรณีผู้ต้องหาในคดีขันแดง ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๖ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙
ถูกน�าตัวไปตรวจหายาเสพติดที่เรือนจ�าขณะรอศาลท�าหมายปล่อยตัว โดยให้ผู้ต้องขังหญิงถอดเสื้อผ้าทุกชิ้นออกทั้งหมด
๘๓
และยังให้ท�ากิริยานั่งแล้วลุก-นั่งแล้วลุกหลายต่อหลายครั้ง หรือกรณีนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ�าเลยคดี
นั่งรถไฟไปตรวจสอบอุทยานราชภักดิ์ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๙ ได้ขึ้นศาลทหารและถูกน�าตัวไปเรือนจ�าก่อนได้รับ
การประกันตัว ได้ถูกบอกให้ถอดเสื้อผ้าและใส่ผ้าถุงผืนเดียวเพื่อเปลี่ยนเป็นชุดนักโทษ และถูกสั่งให้ลุกนั่งเพื่อตรวจสอบว่า
๘๔
ซ่อนยาเสพติดหรือไม่และได้ถูกตรวจช่องคลอดด้วย ต่อมาในเดือนธันวาคม ๒๕๕๙ กรมราชทัณฑ์ได้มีการน�าเทคโนโลยี
มาใช้ในการรักษาความปลอดภัย “Body Scanner มาใช้กับผู้ต้องขังหญิง” เพื่อตรวจสอบการลักลอบน�าสิ่งของต้องห้าม
เข้าภายในทัณฑสถานหญิงเป็นครั้งแรกเพื่อลดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในผู้ต้องขังหญิง
๓.๒.๔ การประเมินสถานการณ์
ในปี ๒๕๕๙ กสม. ยังคงได้รับเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิใน
กระบวนการยุติธรรม โดยมีการกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระท�าการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนมากกว่าสิทธิในด้านอื่น ๆ โดยรัฐเป็นภาคีกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอันได้บัญญัติรับรองสิทธิ
ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรัฐมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณี
ที่เป็นภาคีในการเคารพ คุ้มครอง และท�าให้เกิดผลในทางปฏิบัติ แม้ว่ารัฐ
ได้มีความพยายามที่จะด�าเนินการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ได้ประกัน
สิทธิในกระบวนการยุติธรรมไว้ ตลอดจนกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา และในพระราชบัญญัติต่าง ๆ อย่างไรก็ดี การที่ประเทศไทยมีความเหลื่อมล�้าทางเศรษฐกิจ สังคม ท�าให้บุคคล
เข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมได้แตกต่างกัน ความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐในการที่จะท�าให้ประชาชนสามารถ
เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยการตรากฎหมายและปรับแก้กฎหมายหลาย ๆ ฉบับ เช่น พระราชบัญญัติ
ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ�าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
โดยอาศัยอ�านาจตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติราชทัณฑ์
พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นต้น นอกจากนี้ การค�านึงถึงสิทธิของผู้ต้องหา จ�าเลย ผู้ต้องขัง แสดงถึงความพยายามที่จะให้มีความก้าวหน้า
ในการที่จะเคารพ คุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ต้องหา จ�าเลย ผู้ต้องขัง ดังนี้
๘๒ จาก แถลงการณ์มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กรณีใส่โซ่ตรวน ๗ นักศึกษาที่ขัดค�าสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และผิด พ.ร.บ.ประชามติ ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ขัดกับ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ในการใช้เครื่องพันธนาการ, โดย สุรพงษ์ กองจันทึก, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://voicefromthais.wordpress.com/2016/07/08
๘๓ จาก ๓ สาวผู้ต้องหาคดีการเมือง เปิด ๓ เรื่องเล่าละเมิดสิทธิฯ ระหว่างรอประกันในเรือนจ�า, โดย ประชาไท, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://prachatai.com/journal
/2016/05/65597
๘๔ จาก ๓ สาวผู้ต้องหาคดีการเมือง เปิด ๓ เรื่องเล่าละเมิดสิทธิฯ ระหว่างรอประกันในเรือนจ�า, งานเดิม.
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 82 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙