Page 76 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 76

เยาวชนรวมกับผู้ใหญ่ มีการจัดตั้งกลไกการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรือการส่งกลับคนต่างด้าว โดยเคารพต่อหลักการไม่ส่งตัวกลับ
            (Non – Refoulement) มีมาตรการป้องกันและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความเห็น โดยเฉพาะการคุ้มครองนักข่าว

            นักหนังสือพิมพ์จากการถูกข่มขู่ คุกคาม มีมาตรการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนจากการถูกคุกคาม ท�าร้าย มีการสอบสวน
            เมื่อมีการกล่าวหาว่าบุคคลดังกล่าวถูกคุกคาม ท�าร้ายโดยเจ้าหน้าที่รัฐและมีการเยียวยาผู้เสียหายหรือครอบครัว ตลอดจน
            มีมาตรการน�าผู้กระท�าผิดค้ามนุษย์มาลงโทษและคุ้มครองพยานและผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์


                     ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีนโยบายในการ

            บริหารราชการแผ่นดินด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคือ ให้กระบวนการยุติธรรม/กฎหมายปกติสามารถด�าเนินการได้
            โดยได้รับความเชื่อถือจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ไม่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการสร้างความขัดแย้งซึ่งกันและกัน
                                                                                                         ๕๗
            ปรับปรุงแก้ไขส่วนงานต่าง ๆ ของกระบวนการยุติธรรมให้เข้มแข็ง เที่ยงตรง เป็นธรรมและตรวจสอบได้ เป็นต้น  โดยได้
            มีการประกาศ คสช. ฉบับที่ ๖๓/๒๕๕๗ เรื่อง นโยบายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมของรัฐ ดังนี้ คสช. มีนโยบายเกี่ยวกับ
            กระบวนการยุติธรรมของรัฐว่าประชาชนต้องได้รับความเป็นธรรมภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างทั่วถึง โดยเสมอภาค
            และเท่าเทียมกันในกระบวนการยุติธรรม องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นศาล
            คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ องค์กรอิสระอื่น ๆ อัยการ ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ กรมสอบสวน
            คดีพิเศษ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ รวมทั้งหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ

            ยุติธรรม ขอให้ยึดมั่นในการปฏิบัติงานด้วยความเที่ยงธรรม และมีบรรทัดฐานที่ชัดเจนในการด�าเนินคดีตามประเภทคดี
            ที่อยู่ในอ�านาจหน้าที่ ซึ่งสาธารณชนสามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนหลีกเลี่ยงการด�าเนินการใด ๆ ที่อาจมีผลท�าให้เกิดความเข้าใจผิด
            แก่สาธารณชนในการบังคับใช้กฎหมาย อันจะน�าไปสู่ความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคม ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลัก

                                         ๕๘
            นิติธรรมและไม่มีการเลือกปฏิบัติ  นอกจากนี้ ยังได้มีประกาศที่มีผลเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมอย่างมีนัยส�าคัญ
            คือ ประกาศ คสช. ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร ฉบับที่ ๓๘/๒๕๕๗
            เรื่อง คดีที่ประกอบด้วยการกระท�าหลายอย่างเกี่ยวโยงกันให้อยู่ในอ�านาจศาลทหาร และฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้ศาลทหาร
            มีอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ซึ่งส่งผลให้พลเรือนต้อง
            อยู่ในอ�านาจการพิจารณาของศาลทหารในการกระท�าความผิดดังต่อไปนี้ (๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี  สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

            รัชทายาท และผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒ (๒) ความผิดต่อ
            ความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ ยกเว้นความผิด
            ซึ่งการกระท�าผิดเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พุทธศักราช

            ๒๕๕๑ หรือพระราชก�าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช ๒๕๔๘ (๓) ความผิดตามประกาศหรือค�าสั่ง
            คสช. (๔) บรรดาความผิดที่อยู่ในอ�านาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาตามค�าสั่งของ คสช. ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ ลงวันที่
            ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และค�าสั่งของ คสช. ฉบับอื่น ถ้าคดีใดประกอบด้วยการกระท�าหลายอย่างเกี่ยวโยงกัน แม้แต่ละอย่าง   บทที่
            จะเป็นความผิดได้ในตัวเองและไม่อยู่ในอ�านาจศาลทหารก็ให้อยู่ในอ�านาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาด้วย        ๓
            และ (๕) คดีที่มีข้อหาว่ากระท�าความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ใช้เฉพาะแต่การ

            สงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน
            วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พุทธศักราช ๒๔๙๐ ไม่ว่าจะมีข้อหาว่ากระท�าผิดอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ที่กระท�า
            ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา เป็นต้นไป ให้เป็นคดีอยู่ในอ�านาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา

            ยกเว้นความผิดซึ่งการกระท�าเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
            พุทธศักราช ๒๕๕๑ และพระราชก�าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช ๒๕๔๘ อีกทั้ง คสช. ได้ประกาศ
            ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ส่งผลให้การพิจารณาของ
            ศาลทหารในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติ จึงไม่สามารถที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาค�าพิพากษาได้


                     ๕๗  จาก เจตนารมณ์/นโยบาย หน.คสช. สืบค้นเมื่อ ๒๕๖๐ จาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-policy.pdf
                     ๕๘  ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๓/๒๕๕๗


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  75  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81