Page 81 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 81
๓.๒.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
ในปี ๒๕๕๙ (๑ มกราคม ๒๕๕๙ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙) กสม. ได้รับค�าร้องขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
จ�านวนทั้งสิ้น ๗๙๒ ค�าร้อง ซึ่งเมื่อจ�าแนกค�าร้องตามประเภทของสิทธิที่เกี่ยวข้องแล้ว พบว่า มีค�าร้องที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกละเมิด
๗๐
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ๒๐๕ ค�าร้อง คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๘๘ ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๘
๗๑
ซึ่งมีจ�านวน ๑๕๐ ค�าร้อง จาก ๕๘๐ ค�าร้อง คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๗๗ จะเห็นได้ว่า จ�านวนเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิในกระบวนการ
ยุติธรรมในปี ๒๕๕๙ มีจ�านวนมากขึ้นกว่าในปี ๒๕๕๘ แต่หากเทียบเป็นร้อยละของเรื่องร้องเรียนทั้งหมดมีความใกล้เคียงกันมาก
โดยสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่มีการร้องเรียนโดยกล่าวอ้างว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ สิทธิของผู้เสียหาย สิทธิของผู้ต้องหา สิทธิของผู้ต้องขัง สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
รัฐได้มีการตรากฎหมายและปรับแก้กฎหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมลดปัญหาความเหลื่อมล�้า
ในกระบวนการยุติธรรม และคุ้มครองสิทธิของประชาชน อาทิ การปรับแก้พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน
และค่าใช้จ่ายแก่จ�าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยก�าหนดให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ปล่อยตัวจ�าเลย
๗๒
มีหน้าที่แจ้งสิทธิแก่ผู้เสียหายหรือจ�าเลย และก�าหนดอ�านาจให้คณะอนุกรรมการสามารถพิจารณาค�าขออนุมัติค่าตอบแทน
ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ การออกระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม โดยอาศัยอ�านาจตาม
พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งก�าหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเรื่องการขอปล่อยชั่วคราว
การเยียวยากรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน การปรับแก้ประมวลกฎหมายอาญา เรื่องการบังคับโทษปรับและการรอการลงโทษปรับ
๗๓
ให้สามารถรอการลงโทษปรับได้ รวมทั้งก�าหนดให้ศาลอาจพิพากษาให้รอการก�าหนดโทษหรือรอการลงโทษแก่ผู้กระท�าความผิด
ที่เคยรับโทษจ�าคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจ�าคุกมาแล้วเกินกว่า ๕ ปี แล้วมากระท�าความผิดอีก โดยความผิดครั้งหลังเป็นความผิด
ที่ได้กระท�าประมาทหรือลหุโทษ อีกทั้งศาลสามารถสั่งรอการลงโทษปรับได้อีกด้วย นอกจากนี้ ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ
ราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ส�าหรับกรณีการด�าเนินกระบวนการยุติธรรม ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอ�านาจ
พิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร ฉบับที่ ๓๘/๒๕๕๗ เรื่อง คดีที่ประกอบด้วยการกระท�าหลายอย่างเกี่ยวโยงกันให้อยู่ในอ�านาจ
ศาลทหาร และฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้ศาลทหารมีอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด
ที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ซึ่งส่งผลให้พลเรือนต้องอยู่ในอ�านาจการพิจารณาของศาลทหาร ต่อมา วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙
ได้มีค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๕๕/๒๕๕๙ เรื่อง การด�าเนินการเกี่ยวกับคดีบางประเภทที่อยู่ในอ�านาจศาลทหาร โดยอาศัยอ�านาจ
ตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้ก�าหนดให้บรรดาการกระท�า
ความผิดตามประกาศ คสช. ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ ๓๘/๒๕๕๗ และ ๕๐/๒๕๕๗ ซึ่งได้กระท�าตั้งแต่วันที่ค�าสั่งนี้ใช้บังคับ
ให้อยู่ในอ�านาจการพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมส่งผลให้พลเรือนที่กระท�าความผิดดังกล่าว นับแต่วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙
อยู่ในอ�านาจการพิจารณาของศาลยุติธรรม
สถานการณ์การควบคุมตัวบุคคล พบว่า เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๙ นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ “จ่านิว” แกนน�า
กลุ่มประชาธิปไตยศึกษา ได้ถูกบุคคลแต่งกายคล้ายทหาร จ�านวน ๘ นาย พร้อมรถกระบะ ๒ คัน ปิดบังแผ่นป้ายทะเบียนและ
๗๔
สังกัดเข้าคุมตัวนายสิรวิชญ์ฯ จากด้านหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (ฝั่งประตูเชียงราก) ไปเมื่อเวลา ๒๒.๓๐ น.
เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๓.๐๐ น. เจ้าหน้าที่ทหารสังกัด ร.๒ พัน ๒ รอ. ได้ควบคุมนายสิรวิชญ์ฯ ไปส่งเจ้าหน้าที่
ต�ารวจสถานีต�ารวจนิมิตรใหม่ ตามภูมิล�าเนาของผู้ต้องหา ซึ่ง พ.ต.ท.สุจินต์ สมศรี รอง ผกก.ป. สถานีต�ารวจนิมิตรใหม่ กล่าวว่า
๗๐ จาก ระบบสารสนเทศเพื่อการรวบรวมและบริการสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน: ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน, งานเดิม.
๗๑ แหล่งเดิม.
๗๒ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ�าเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
๗๓ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๕๙
๗๔ จาก คสช.ยัน ไม่ทราบเรื่อง ‘จ่านิว’ถูกจับ ยัน หากเป็นทหารจริงจะท�าตามขั้นตอน, โดย มติชนออนไลน์, ๒๕๕๙, สืบค้นจากhttp://www.matichon.co.th/news/7994
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 80 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙