Page 75 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 75

สุดท้ายจึงไปสู่สิทธิในกระบวนการยุติธรรมปลายทาง คือ การได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่
        ราชทัณฑ์ ทั้งนี้ แนวความคิดของการลงโทษเป็นการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระท�าผิด เพื่อให้กลับคืนสู่สังคม ซึ่งเมื่อผู้กระท�าผิดพ้นโทษ

        บุคคลนั้นควรที่จะสามารถกลับคืนสู่สังคมได้ตามปกติ มีอาชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อป้องกันมิให้กลับไปกระท�าความผิดซ�้า
        และแม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ถูกยกเลิก แต่สิทธิดังกล่าวยังคงได้รับการรับรองโดย
        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ และยังคงปรากฏสาระส�าคัญในร่าง
                                                                  ๕๕
        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... (ฉบับลงประชามติ)


                 หลักการต่าง ๆ ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญได้ถูกน�ามาบัญญัติไว้ในกฎหมายหลาย ๆ ฉบับ เช่น ประมวลกฎหมาย
        วิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ�าเลย
        ในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นต้น

        นอกจากนี้ รัฐได้มีการบัญญัติพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีวัตถุประสงค์
        ให้เกิดการพัฒนาระบบบริหารงานยุติธรรมอย่างบูรณาการ และเพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
        ในกระบวนการยุติธรรม จึงได้ก�าหนดให้คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติจัดท�าแผนแม่บทการบริหารงาน
        ยุติธรรมแห่งชาติขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางประสานความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรมระหว่างหน่วยงานของรัฐและ
        องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมให้เป็นไปอย่างสอดคล้อง และมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะท�าให้การ

        อ�านวยความยุติธรรมมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรม โดย
        ส�านักงานกิจการยุติธรรมได้มีการจัดท�าแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๕ ซึ่งนับเป็นแผน
        ฉบับแรก ขณะนี้อยู่ระหว่างการด�าเนินการตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๑ ซึ่งเป็น

        แผนฉบับที่สอง โดยแผนแม่บทฉบับนี้ได้ก�าหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตไว้ ๔ ประการ คือ เป้าหมายที่ ๑
        การให้บริการประชาชนของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายเหมาะสม
        เป้าหมายที่ ๒ ประชาชนสามารถเข้าถึงการให้บริการของหน่วยงานยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม เป้าหมายที่ ๓ หน่วยงานยุติธรรม
        มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม และเป้าหมายที่ ๔ ปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลลดลง



                                                                  อย่างไรก็ตาม  ในสมัยประชุมที่  ๘๔  ของคณะ
                                                          กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติว่าด้วยกติกา
                                                          ระหว่างประเทศฯ  ระหว่างวันที่  ๑๙  -  ๒๐  กรกฎาคม

                                                          ๒๕๔๘ คณะกรรมการฯ มีข้อสังเกตโดยสรุป (Concluding
                                                          Observations) ต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศไทย
                                                                                                           ๕๖
                                                          ในกรณีตากใบ กรือเซะ สงครามปราบปรามยาเสพติดว่า
                                                          ควรให้มีการจัดตั้งกลไกสอบสวนที่เป็นกลาง การประกันว่า
                                                          การประกาศใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่

                                                          ชายแดนใต้สอดคล้องตามบทบัญญัติของ ICCPR ข้อ ๔
        ว่าด้วยการประกาศภาวะฉุกเฉิน (State of Emergency) การทบทวนการใช้โทษประหารชีวิตคดีความผิดเกี่ยวกับ
        ยาเสพติด การประกันว่าผู้ถูกคุมขังจะเข้าถึงการได้รับค�าปรึกษาทางกฎหมายและเข้าถึงแพทย์ ให้ผู้ถูกคุมขังมีโอกาส

        แจ้งครอบครัวทราบเกี่ยวกับการจับกุมและสถานที่คุมขัง มีการสอบสวนทันทีที่มีการกล่าวหาว่ามีการกระท�าทรมานโดย
        เจ้าหน้าที่ต�ารวจและเมื่อมีการตายในสถานคุมขัง มีการลงโทษผู้กระท�าผิดและจ่ายค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือครอบครัว
        ควรปรับปรุงสภาพเรือนจ�าและใช้การจ�าคุกเป็นการลงโทษล�าดับสุดท้าย การยุติการขังเดี่ยว มีการคุ้มครองเยาวชนและไม่ขัง


                 ๕๕  ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
                 ๕๖  From Consideration of reports submitted by states parties under article 40 of the covenant, retrieved from http://tbinternet.ohchr.org/
        _layouts/treatybodyexternal/Download.aspx?symbolno=CCPR/CO/84/THA&Lang=En


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  74  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80