Page 80 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 80

การพัฒนาทัศนคติและความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายกับสถานการณ์พิเศษของ ๓ จังหวัด
            ชายแดนภาคใต้ ต้องตระหนักถึงสภาพความเป็นมาของปัญหาทั้งมิติทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ของ

            คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ และการฝึกอบรมถึงยุทธศาสตร์สันติวิธี
                        กระบวนการยุติธรรมหลังมีการรัฐประหาร นับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ คสช. ได้มี
            ประกาศ คสช.  ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร ฉบับที่ ๓๘/๒๕๕๗ เรื่อง
            คดีที่ประกอบด้วยการกระท�าหลายอย่างเกี่ยวโยงกันให้อยู่ในอ�านาจศาลทหาร และฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้ศาลทหาร
            มีอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ซึ่งส่งผลให้พลเรือนต้อง

            อยู่ในอ�านาจการพิจารณาของศาลทหารในการกระท�าความผิดดังต่อไปนี้ (๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี
            รัชทายาท และผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ (๒) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร (๓) ความผิดตาม
            ประกาศหรือค�าสั่ง คสช. (๔) บรรดาความผิดที่อยู่ในอ�านาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาตามค�าสั่ง คสช. ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗

            ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และค�าสั่ง คสช. ฉบับอื่น (๕) คดีที่มีข้อหาว่ากระท�าความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน
            เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
            พุทธศักราช ๒๔๙๐ อีกทั้ง คสช. ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ –
            ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ส่งผลให้การพิจารณาของศาลทหารในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติ จึงไม่สามารถ
            ที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาค�าพิพากษาได้ แม้ว่าต่อมาได้มีการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกไปแล้ว แต่คดีที่เกิดขึ้นในช่วงที่มี

            การประกาศกฎอัยการศึก แล้วการพิจารณาคดียังไม่สิ้นสุด ถือเป็นคดีที่เกิดในเวลาไม่ปกติยังคงต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา
                        การเยียวยา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๔๕ มาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗
            ได้คุ้มครองบุคคลที่ต้องค�าพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดอาญา และภายหลังจากนั้นมีการกลับค�าพิพากษาที่ให้ลงโทษ

            บุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นได้รับอภัยโทษต้องได้รับการชดเชยตามกฎหมาย ซึ่งเป็นที่มาของพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
            และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ�าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยบัญญัติขึ้นเพื่อรับรองสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือ
            จากรัฐของบุคคล ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระท�าความผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
            การกระท�าความผิดนั้น และไม่มีโอกาสได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น รวมทั้งการรับรองสิทธิในการรับ
            ค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย ในกรณีของบุคคลซึ่งตกเป็นจ�าเลยในคดีอาญาและถูกด�าเนินคดีโดยพนักงานอัยการและถูกคุมขัง สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

            ระหว่างการพิจารณาคดี หากปรากฏตามค�าพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่าจ�าเลยมิได้เป็นผู้กระท�า
            ความผิด หรือการกระท�าของจ�าเลยไม่เป็นความผิด ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่บัญญัติออกมาเพื่อการเยียวยาทั้งผู้ที่เสียหายจากการ
            กระท�าความผิดอาญาและจ�าเลยที่ได้รับความเสียหายจากความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม การเยียวยา

            ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ�าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ ยังไม่ครอบคลุม
            ความเสียหายในหลายกรณี เช่น กรณีการถูกคุมขังในระหว่างสอบสวน กรณีที่ศาลยกฟ้องเนื่องจากยกประโยชน์แห่งความสงสัย
            ให้แก่จ�าเลย กรณีการควบคุมตัวโดยไม่ชอบแล้วศาลสั่งให้ปล่อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๙๐    บทที่
            การถูกคุมขังเกินกว่าโทษตามค�าพิพากษา เป็นต้น และยังมีปัญหาเรื่องความล่าช้าในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ  ๓



                     ต่อมา ในปี ๒๕๕๘ ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลบังคับใช้วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๙
            โดยก�าหนดให้ความช่วยเหลือดังนี้ (๑) ความช่วยเหลือในการด�าเนินคดี (๒) การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจ�าเลย (๓)
            การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน (๔) การให้ความรู้ทางกฎหมาย

            แก่ประชาชน การมีกองทุนยุติธรรม ท�าให้ประชาชนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้สะดวก
            รวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ ยังได้ให้ความส�าคัญกับการเยียวยาความเสียหายผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย ซึ่งถือว่า
            เป็นกฎหมายที่มีประโยชน์ต่อประชาชนฉบับหนึ่ง









                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  79  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85