Page 74 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 74
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... (ฉบับลงประชามติ) ได้มีการบัญญัติรับรองสิทธิ
ในกระบวนการยุติธรรม โดยก�าหนดไว้ในหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา ๒๙ โดยได้บัญญัติรับรอง
สิทธิในการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจ�าเลยให้กระท�าเท่าที่จ�าเป็น เพื่อป้องกันมิให้มี
การหลบหนี สิทธิที่จะไม่ให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง สิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราว และหมวด ๖ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
มาตรา ๖๘ รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ
และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร พึงมีมาตรการคุ้มครอง
เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงหรือครอบง�าใด ๆ
รัฐต้องให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จ�าเป็นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
๕๓
รวมถึงการจัดหาทนายความให้
๓.๒.๒ สถานการณ์ทั่วไป
๑) รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ค�าสั่ง นโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง
ประเทศไทยมีความพยายามที่จะปฏิรูปโครงสร้าง
กระบวนการยุติธรรมทางอาญามาหลายยุคหลายสมัย
การก้าวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญายุคใหม่เริ่มในสมัย
รัชกาลที่ ๕ ที่ได้ยกเลิกกระบวนพิจารณาแบบจารีตนครบาล
มาสู่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อมาถึง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ใช้บังคับ
จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
ได้มีการปรับองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาใหม่
ผ่านทางรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เช่น การแยกศาลออกจากกระทรวงยุติธรรม การสร้างระบบ
ศาลคู่ ศาลพิเศษ การแยกองค์กรอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทย การปรับโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมใหม่ การย้ายสังกัด
กรมราชทัณฑ์ การเพิ่มกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นต้น ตลอดจนการ สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ก่อก�าเนิดองค์กรป้องกันและปราบปรามการทุจริตหลายองค์กรและองค์กรอิสระต่าง ๆ จ�านวนมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลง
ดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากปัญหาและความเหลื่อมล�้าในอดีตหลายประการ เช่น ปัญหานักโทษล้นคุก การคุ้มครองเหยื่อ
อาชญากรรมและพยานในคดีอาญา ระบบส�านวนและคดี ความเป็นอิสระของตุลาการ เป็นต้น
๕๔
กระบวนการยุติธรรมเป็นกระบวนการที่รัฐใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการควบคุมความประพฤติและจัดการ
ข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของคนในสังคม เพื่อสร้างให้เกิดความยุติธรรมทางสังคมในการออกกฎหมายย่อมเป็นการจ�ากัด บทที่
สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิของบุคคลไว้มิให้ถูกแทรกแซงโดยรัฐ ๓
เกินความจ�าเป็นย่อมมีความส�าคัญอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิ
ของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม โดยการก�าหนดให้รัฐจะต้องด�าเนินนโยบายพื้นฐานด้านกฎหมายและการยุติธรรม
ในการดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง ตลอดจนการคุ้มครอง
สิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิดทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และโดยบุคคลอื่น และต้องอ�านวยความยุติธรรม
แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม สิทธิในกระบวนการยุติธรรมจึงเป็นการประกันสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรมนับตั้งแต่
ต้นทาง ได้แก่ การถูกจับกุม ค้น คุมขัง จากเจ้าหน้าที่ต�ารวจโดยชอบ การได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องและ
เป็นธรรม การได้รับการพิจารณาสั่งคดีที่เป็นธรรมจากพนักงานอัยการ การพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นธรรมจากศาล
๕๓ ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
๕๔ สรุปการสัมมนาทางวิชาการหัวข้อ กระบวนการยุติธรรมไทย “รู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน เชื่อมั่นอนาคต” โดยสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (สธท.) เมื่อ
วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 73 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙