Page 73 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 73
๓.๒ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
๓.๒.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil
and Political Rights: ICCPR) ข้อ ๒ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๔
ได้รับรองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของบุคคล ได้แก่ สิทธิ
ที่จะไม่ถูกจับกุมหรือควบคุมตัวโดยอ�าเภอใจ สิทธิที่จะได้รับ
แจ้งถึงเหตุผลและข้อหาในการจับกุม สิทธิที่จะมีเวลาและ
ได้รับความสะดวกเพียงพอแก่การเตรียมการเพื่อต่อสู้คดี
สิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ สิทธิในการ
ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว สิทธิในการตรวจสอบความชอบ
ด้วยกฎหมายของการจับกุมหรือควบคุม สิทธิในการได้รับ
การเยียวยาในกรณีถูกจับกุมหรือควบคุมตัวโดยไม่ชอบ สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติด้วยความมีมนุษยธรรมและเคารพใน
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิที่จะได้รับความเสมอภาคในการพิจารณาของศาลและตุลาการ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดย
เปิดเผยและเป็นธรรมจากตุลาการที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยไม่ชักช้าเกินความจ�าเป็น
สิทธิที่จะซักถามพยานซึ่งเป็นปรปักษ์กับตน สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากล่าม สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความ
เป็นปรปักษ์ต่อตนเองหรือให้รับสารภาพผิด สิทธิที่จะได้รับการทบทวนการลงโทษและค�าพิพากษาโดยคณะตุลาการ
ระดับเหนือขึ้นไป สิทธิที่จะไม่ถูกพิจารณาหรือลงโทษซ�้าในการกระท�าความผิดเดียวกัน
ส�าหรับเด็กและเยาวชน นอกจากจะได้รับการคุ้มครองสิทธิดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ
โดยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๖ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๔ ได้ก�าหนดห้ามประหารชีวิต
แก่บุคคลที่อายุต�่ากว่า ๑๘ ปี การแยกผู้ต้องหาที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ และให้น�าตัวขึ้นพิจารณา
พิพากษาคดีให้เร็วที่สุดเท่าที่จะท�าได้ ผู้กระท�าผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนต้องได้รับการจ�าแนกออกจากผู้กระท�าผิดที่เป็นผู้ใหญ่
และต้องได้รับการปฏิบัติให้เหมาะสมกับวัย วิธีพิจารณาความให้เป็นไปโดยค�านึงถึงอายุและส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟู
ความประพฤติ ค�าพิพากษาอาจปกปิดได้ในกรณีจ�าเป็นเพื่อประโยชน์ของเด็กและเยาวชน
สิทธิในกระบวนการยุติธรรมได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ส่วนที่ ๔ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ คือ สิทธิในการ
ได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง สิทธิในการ
ได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง
และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่ง
พิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบค�าวินิจฉัย ค�าพิพากษา หรือค�าสั่ง สิทธิที่จะให้คดีของตน
ได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม สิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม
และการไม่ให้ถ้อยค�าเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง สิทธิได้รับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จ�าเป็นและเหมาะสมจากรัฐ
ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จ�าเป็น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นต้น ซึ่งสิทธิดังกล่าวยังคงได้รับ
การรับรองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 72 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙