Page 77 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 77

โดยตั้งแต่มีค�าสั่ง คสช. ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
                                           ๕๙
        มีสถิติการด�าเนินคดีพลเรือนของศาลทหาร  รายละเอียดตามตารางที่ ๑ ดังนี้


        ตารางที่ ๑ สถิติการด�าเนินคดีพลเรือนของศาลทหาร


                                         ประเภทความผิด                                       จำ นวนคดี

          ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามค�าสั่ง คสช. (ไม่รายงานตัว,ชุมนุมทางการทหาร)                       ๓๙

          ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒                                                         ๖๖
          ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๖                                                          ๕

          ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ/ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ ๕๙/๕๗ , ๖๒/๕๗                   ๑,๔๕๗

                                       รวมจำ นวนคดีทั้งสิ้น                                   ๑,๕๖๗
          - เป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล                                              ๕๓๔

          - เป็นคดีที่ศาลพิจารณาแล้วเสร็จ                                                     ๑,๐๓๓




                 นอกจากนี้ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) ได้ก�าหนดแผนในการส่งเสริมและคุ้มครอง
        สิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับสิทธิที่รับรองไว้ใน ICCPR ได้แก่ แผนด้านการเมืองการปกครอง เน้นการแก้ไขสถานการณ์ในจังหวัด

        ชายแดนภาคใต้ การให้ประชาชนตรวจสอบการใช้อ�านาจของภาครัฐ แผนด้านกระบวนการยุติธรรมเน้นการเปลี่ยนแปลง
        โทษประหารชีวิตเป็นจ�าคุกตลอดชีวิต ศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครอง
        มิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ แผนของกลุ่มผู้ต้องหา/
        ผู้ต้องขังเน้นการปรับปรุงสภาพเรือนจ�า การปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจ�าเลย แผนของกลุ่มผู้พ้นโทษเน้นการช่วยเหลือผู้พ้นโทษ
        เพื่อไม่ให้กระท�าผิดซ�้า แผนของกลุ่มผู้ต้องหาคดียาเสพติดเน้นการฝึกอาชีพ การบ�าบัด แผนของกลุ่มเหยื่อ/ผู้เสียหายเน้นการ

        พัฒนากลไกช่วยเหลือเยียวยา


        ๒) สภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรม

                 กระบวนการยุติธรรมของไทย ประกอบด้วย หน่วยงานหลายหน่วยงานตั้งแต่ต�ารวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์
        ซึ่งการด�าเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมล้วนมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งจาก
        การศึกษาสถิติการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของส�านักงาน กสม. พบว่า มีการร้องเรียนว่าถูกละเมิดสิทธิในกระบวนการ
        ยุติธรรมมากกว่าสิทธิในประเภทอื่น ๆ โดยตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ มีจ�านวนร้องเรียน ๗๘๗ ค�าร้อง จากเรื่องร้องเรียน
        ทั้งหมด ๒,๔๗๘ ค�าร้อง คิดเป็นร้อยละ ๓๑.๗๖  โดยประเด็นที่ร้องเรียน ได้แก่ สิทธิผู้ต้องหา สิทธิผู้เสียหาย สิทธิผู้ต้องขัง
                                               ๖๐
        สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และอื่น ๆ และข้อมูลสถิติในช่วงปี ๒๕๕๒ – ๒๕๕๙ พบว่า มีการร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่
        ต�ารวจละเมิดสิทธิมนุษยชนมากกว่าเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอื่น ๆ ๖๑



                 ปัญหาสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย อาจสรุปได้ดังต่อไปนี้
                 ๒.๑) กระบวนการยุติธรรมต้นน�้า ได้แก่ ในชั้นเจ้าหน้าที่ต�ารวจซึ่งเป็นหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่มีความ
        ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด จึงมีโอกาสกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากกว่าหน่วยงานอื่น ๆ จากการศึกษาวิจัย

                 ๕๙  รายละเอียดตามหนังสือกรมพระธรรมนูญ ด่วนที่สุดที่ กห ๐๒๐๒/๑๕๙๑ ลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๙
                 ๖๐  จาก ระบบสารสนเทศเพื่อการรวบรวมและบริการสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน: ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน, งานเดิม.
                 ๖๑  จาก โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ต�ารวจ, โดย ศ.พล.ต.ต.สัญญา บัวเจริญ และคนอื่นๆ, ๒๕๕๔, กรุงเทพฯ:
        ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  76  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82