Page 78 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 78
พบว่า มีการร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่ต�ารวจมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากกว่าเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอื่น และมีการละเมิด
สิทธิมนุษยชนในหลาย ๆ ขั้นตอน เช่น การใช้ก�าลังในขั้นจับกุม การไม่แจ้งสิทธิตามกฎหมาย การท�าร้ายเพื่อให้รับสารภาพ
๖๒
การน�าผู้ต้องหาแถลงข่าวหรือท�าแผนประกอบค�ารับสารภาพ เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเจ้าหน้าที่ต�ารวจจะเป็นปัญหา
ในทางปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพราะมุ่งที่จะป้องปรามอาชญากรรมและน�าตัวผู้กระท�าความผิดเข้าสู่
กระบวนการยุติธรรม
๒.๒) กระบวนการยุติธรรมกลางน�้า ได้แก่ ในชั้นอัยการ และชั้นศาล พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการปล่อยตัว
ชั่วคราวที่มีการก�าหนดหลักประกัน หากไม่มีหลักประกันจะไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ปัญหาการน�าคดีเข้าสู่กระบวนการ
ยุติธรรมจ�านวนมากโดยไม่มีการน�ามาตรการชะลอการฟ้องมาใช้ ปัญหาทนายอาสาที่ขาดความเชี่ยวชาญในการว่าความ
ปัญหาการมีโทษทางอาญาที่มากจนเกินไป ปัญหาการพิจารณาคดีพลเรือนในศาลทหาร ปัญหาที่เกิดขึ้นมีทั้งปัญหาในทาง
ปฏิบัติและปัญหาในทางกฎหมายซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล
๒.๓) กระบวนการยุติธรรมปลายน�้า ได้แก่ ในชั้นราชทัณฑ์ มีการศึกษาพบว่า ปัญหาที่ส�าคัญคือ ปัญหานักโทษ
ล้นเรือนจ�า จากสถิติผู้ต้องขังในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมาพบว่า จ�านวนผู้ต้องขังเกินความจุปกติที่เรือนจ�าจะรองรับได้ท�าให้มีสภาพ
ความแออัดยัดเยียดของผู้ต้องขังในเรือนจ�า หรือที่เรียกว่า “สภาวะผู้ต้องขังล้นเรือนจ�า” นั้น จะส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่
ของผู้ต้องขังในทางลบ และยังส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการเรือนจ�าอีกด้วย เพราะท�าให้การจัดสวัสดิการและการดูแล
ผู้ต้องขังในด้านต่าง ๆ ท�าได้ด้วยความยากล�าบาก ผู้ต้องขังต้องนอน กินและใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างแออัด ผู้ต้องขัง
จ�านวนมากต้องว่างงานเนื่องจากไม่มีสถานที่และปริมาณงานเพียงพอที่จะจ่ายให้ผู้ต้องขัง ท�าให้ผู้ต้องขังต้องอยู่ว่าง ๆ
คิดฟุ้งซ่าน และหันไปมีพฤติกรรมละเมิดกฎระเบียบของเรือนจ�า ไม่ว่าจะเป็นการเล่นการพนันหรือแม้แต่หันไปสู่การกระท�าผิด
กฎหมายหรือประกอบอาชญากรรมเกี่ยวกับยาเสพติดในเรือนจ�า ๖๓
การบังคับโทษตามค�าพิพากษาเป็นหน้าที่ของกรม
ราชทัณฑ์ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙
ซึ่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และมีบทบัญญัติบางประการ
ไม่สอดคล้องกับนโยบายทางอาญาของประเทศ ประกอบกับ สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
มีกฎหมายและกฎเกณฑ์ในระดับสากลที่เกี่ยวข้องกับการ
ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังประเภทต่าง ๆ และการปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าที่ ซึ่งมิได้มีการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว
ส่งผลให้การด�าเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่สอดคล้องตาม
มาตรฐานสากล อาทิ ข้อก�าหนดมาตรฐานขั้นต�่าส�าหรับปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (Standard Minimum Rules for the Treatment
of Prisoners: SMR) หรือข้อก�าหนดของสหประชาชาติส�าหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจ�าและมาตรการที่มิใช่ บทที่
การควบคุมขังส�าหรับผู้กระท�าผิดหญิง (United Nations Rules for the Treatment of Women Prisoners and ๓
Non-Custodial Measures for Women Offenders) หรือข้อก�าหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) รวมทั้งยังไม่สามารถจัดการหรือ
บริหารโทษของผู้ต้องขังเฉพาะรายหรือเฉพาะคดีได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติให้อ�านาจในการด�าเนินการ
และไม่สามารถด�าเนินการให้มีสถานที่ควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องขังประเภทอื่นนอกจากการคุมขังไว้ในเรือนจ�า ซึ่งท�าให้ระบบ
การพัฒนาพฤตินิสัยและการบริหารงานเรือนจ�าไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ก�าหนดไว้ และพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ยังมีบทบัญญัติ
๖๔
ที่มีผลเป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องขัง เช่น การขังเดี่ยวที่ก�าหนดไว้ ๓ เดือน ถือว่ายาวนานเกินไป
ละเมิดสิทธิของผู้ต้องขังเกินสมควร การใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาไม่สอดคล้องกับหลักการสันนิษฐานว่า
๖๕
๖๒ แหล่งเดิม.
๖๓ จาก นักโทษล้นคุกกับมาตรการทางเลือกในการปฏิบัติต่อผู้กระท�าผิดโดยไม่ใช้เรือนจ�า, โดย นัทธี จิตสว่าง, ๒๕๕๕, สืบจ้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/497865
๖๔ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
๖๕ จาก มาตรการทางกฎหมายในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง: ศึกษากรณีการขังเดี่ยว, โดย เริงชัย สินกอง, (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะ
นิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์, ๒๕๕๘, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ไทย.
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 77 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙