Page 79 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 79

เป็นผู้บริสุทธิ์ การไม่มีก�าหนดระยะเวลาการใช้เครื่องพันธนาการที่แน่นอนอันไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลของ
                    ๖๖
                                           ๖๗
        สหประชาชาติ  การตรวจภายในผู้ต้องขัง  เป็นต้น ซึ่งต่อมา ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
        เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลดังกล่าว
                 ๒.๔) ปัญหาอื่น ๆ
                    ปัญหาความเหลื่อมล�้า โดยมีเรื่องที่ส�าคัญ ได้แก่ (๑) การกักขังแทนค่าปรับที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ
        โทษปรับที่มุ่งเน้นการไม่ให้ประโยชน์จากการกระท�าผิด โดยเป็นโทษที่มุ่งต่อทรัพย์สินของผู้กระท�าความผิด แต่การกักขังแทน
        ค่าปรับ เป็นโทษที่มุ่งต่อเสรีภาพและมีความรุนแรงกว่าโทษปรับ อีกทั้งไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม (๒) การประกันตัวระหว่าง

        พิจารณาที่บุคคลยากจนจะต้องถูกขังระหว่างพิจารณาโดยศาลยังไม่มีค�าพิพากษาว่า บุคคลนั้นกระท�าผิด และ (๓) การรอ
        การลงโทษที่บุคคลที่มีความยากจนและแตกต่างจากบุคคลที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ๖๘
                    กระบวนการยุติธรรมในสถานการณ์พิเศษ ปัญหาความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แม้ว่าจะมีสาเหตุ

        มาจากปัญหาหลายมิติ เช่น มิติด้านประวัติศาสตร์ ด้านภาษาและวัฒนธรรม ด้านศาสนา ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น แต่สาเหตุ
        ส�าคัญ ประการหนึ่งที่มีส่วนผลักดันให้ปัญหาใน ๓ จังหวัดภาคใต้มีความรุนแรงและขยายขอบเขตมากขึ้น ก็คือ ปัญหาด้าน
        ความยุติธรรม กล่าวคือ ๖๙
                     การเสริมประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่สามารถน�ามาแก้ปัญหาได้ทั้งหมด
        ทั้งนี้ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นชาวมุสลิมที่มีเชื้อชาติมลายูและพูดภาษามลายูเป็นภาษาท้องถิ่นมาเป็น

        เวลายาวนาน และมีเป็นจ�านวนมากที่รู้สึกว่าไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน การเพิ่มอ�านาจ
        ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยไม่ท�าความเข้าใจถึงมิติทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษา และศาสนาที่เป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่
        อันอาจส่งผลกระทบให้เหตุการณ์ลุกลาม

                     มีความจ�าเป็นเร่งด่วนที่ต้องยกระดับของการด�าเนินกระบวนการยุติธรรมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพิเศษ
                     การด�าเนินการด้านการบังคับใช้กฎหมายในจังหวัดภาคใต้ยังขาดเอกภาพ และขาดการประสานงานที่ดี
        จะต้องมีการจัดตั้งเป็นหน่วยงานเฉพาะกิจด้านการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของการให้ความช่วย
        เหลือผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา และจ�าเลยไปพร้อม ๆ กัน
                     การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม เช่น เปิดโอกาสให้ชุมชนแก้ปัญหาข้อพิพาท

        โดยใช้วิธีทางวัฒนธรรมและทางศาสนา โดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชน การพัฒนา
        กระบวนการยุติธรรมทางเลือกตามแนวทางกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การปรับปรุงระบบกระบวนการยุติธรรม
        ให้ค�านึงถึงพื้นฐานทางศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมในพื้นที่

                     การได้มาซึ่งพยานหลักฐานในการเอาผิดผู้กระท�าความผิด ต้องพัฒนาระบบนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการ
        ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานเพื่อค้นหาความจริง
                     สภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้นท�าให้เกิดความจ�าเป็นที่รัฐต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
        เพื่อคุ้มครองผู้บริสุทธิ์และรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม โอกาสที่การบังคับใช้กฎหมายจะกระทบถึงสิทธิเสรีภาพ
        ของบุคคลที่เกี่ยวข้องย่อมมีสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจ�าเป็นที่ต้องให้ความส�าคัญในกลไกการตรวจสอบการใช้อ�านาจ

        ของรัฐที่ไม่ถูกต้องหรือส่งผลต่อกฎหมายเกินควร เช่น การจัดตั้งหน่วยรับข้อร้องเรียนและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับ
        ผลกระทบ การตั้งศูนย์ตรวจสอบบุคคลสูญหาย เป็นต้น






                 ๖๖  จาก สิทธิของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา: ศึกษากรณีการใช้เครื่องพันธนาการต่อผู้ต้องขัง, โดย ชยวรรณ บุษยลาภ ไทยเดช, (วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต)
        สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์, ๒๕๕๕, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ไทย.
                 ๖๗  จาก ผู้หญิงขยับ! ๑๖ องค์กรเรียกร้อง เลิก ‘ตรวจภายใน’ ผู้ต้องขังหญิงทุกคน, ๒๕๕๙, สืบค้นจากhttp://prachatai.com/journal/2016/05/65767
                 ๖๘  จาก ปัญหาความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรม, โดย ชนาธิป ชินะนาวิน, วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
        เพชรบุรี, (๑๗)๒, ๒๕๕๘, น. ๗๗ - ๙๑.
                 ๖๙  จาก การเสวนาทางวิชาการเรื่อง การด�าเนินกระบวนยุติธรรมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้: ปัญหาและแนวทางแก้ไข, โดย อานันท์ ปันยารชุน, ๒๕๔๘, สืบค้นจาก
        http://prachatai.com/journal/2005/08/21359


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  78  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84