Page 72 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 72
๓.๑.๔ การประเมินสถานการณ์
สถานการณ์เกี่ยวกับการทรมานบุคคลและการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดยกล่าวอ้างว่ากระท�าหรือเกี่ยวข้องกับ
เจ้าหน้าที่รัฐยังคงเกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง อันเป็นสถานการณ์ที่น่าห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่ง โดยส่วนใหญ่เกิดจาก
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการจับกุม ควบคุมตัว โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีการร้องเรียนเกี่ยวกับ
การกระท�าทรมานมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ อาจเนื่องจากรัฐไม่ได้มีมาตรการที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา
ประกอบกับการที่กระบวนการยุติธรรมของไทยไม่สามารถที่จะน�าตัวผู้กระท�าความผิดมาลงโทษได้ อีกทั้งประเทศไทยยังไม่มี
ฐานความผิดเกี่ยวกับการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ซึ่งมีเพียงกรณีเดียวที่ได้มีการสืบสวน สอบสวนจนสามารถ
น�าคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล คือ กรณีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการไม่มีบทกฎหมาย
เฉพาะส�าหรับกรณีการบังคับให้บุคคลสูญหาย จึงท�าให้การสืบสวน สอบสวนติดตามหาบุคคลที่หายสาบสูญโดยถูกบังคับ
ไม่ประสบผลส�าเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะหากการท�าให้หายสาบสูญเกิดจากการกระท�าหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่
ของรัฐซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายเอง อีกทั้งค�าพิพากษาดังกล่าว ศาลได้วางหลักกฎหมายโดยให้ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน
สามีหรือภริยาเป็นผู้มีอ�านาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕ (๒) เฉพาะ
ในกรณีที่ผู้เสียหายถูกท�าร้ายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดเองได้ ดังนั้น หากเป็นกรณีที่บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
โดยไม่ทราบชะตากรรมว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะไม่สามารถเป็นโจทก์ฟ้องคดีที่เกิดจาก
บุคคลถูกบังคับให้สูญหายได้ ต้องให้อัยการเป็นผู้ฟ้องคดี ซึ่งก็อาจส่งผลต่อการน�าผู้กระท�าความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้
หากอัยการมีค�าสั่งไม่ฟ้องคดี ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงควรบัญญัติกฎหมายที่จะน�ามาบังคับใช้กับกรณีการทรมาน/การบังคับ
บุคคลให้สูญหายเป็นการเฉพาะ เพื่อให้สามารถน�าผู้กระท�าความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย
มีความพยายามในการจัดท�ากฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการทรมานและการบังคับให้สูญหาย และการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ
โดยเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
ระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้สาบสูญ และอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกัน
๕๑
และปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรี
มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระท�าให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ของ
กระทรวงยุติธรรม ที่ส�านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติ สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
แห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
๕๒
นอกจากนี้ พบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖/๑ ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟัง
พยานหลักฐาน โดยพยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาเนื่องจากการกระท�าโดยมิชอบ หรือเป็น
พยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐาน เว้นแต่การรับฟัง
พยานหลักฐานจะเป็นประโยชน์ต่อการอ�านวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสีย อันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของ บทที่
ระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งพยานหลักฐานที่ได้มาอาจได้มาจากการกระท�าทรมานได้ ๓
เนื่องจากกฎหมายมีข้อยกเว้นให้ศาลรับฟังได้ จึงอาจเป็นการเปิดช่องให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐด้วย
การกระท�าทรมานอันขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๗ ที่รับรองว่าบุคคลจะถูกทรมาน
หรือได้รับการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมไม่ได้ โดยคณะกรรรมการประจ�ากติกาได้มีความเห็นทั่วไป
ที่ ๒๐ ว่า กฎหมายต้องก�าหนดห้ามการน�าเอกสาร ข้อความ หรือค�าสารภาพที่ได้มาจากการกระท�าทรมานหรือการปฏิบัติ
ที่ต้องห้ามอื่น ๆ มาประกอบการพิจารณาในศาล
๕๑ จากการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ และร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ
ทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ...., งานเดิม.
๕๒ จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๐ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ได้มีมติให้ความเห็นชอบอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครอง
บุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ, สืบค้นจาก http://library.senate.go.th/document/mVoteM/Ext33/33650_0001.PDF
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 71 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙