Page 69 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 69
๒๘
ให้สูญหาย พ.ศ. .... นอกจากนี้ ได้มีการน�าหลักการเกี่ยวกับการป้องกันการทรมานมาบรรจุในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) ในส่วนแผนสิทธิมนุษยชนด้านกระบวนการยุติธรรม โดยให้มีกิจกรรม เช่น เผยแพร่
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและประชาชน สอบสวนข้อกล่าวหาการละเมิด
สิทธิมนุษยชนโดยทุกฝ่ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และด�าเนินการเพื่อปรับปรุงสถานการณ์ภาคใต้เพื่อน�าไปสู่
การยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ก�าหนดนิยาม “การทรมาน” ในประมวลกฎหมายอาญา ออกกฎหมายให้
การทรมานเป็นความผิดอาญา แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้สอดคล้องกับอนุสัญญา CAT ปรับปรุงกลไกการตรวจสอบ
ร้องเรียนเรื่องการทรมานภายในประเทศให้เป็นกลางและเป็นอิสระในปี ๒๕๖๑ เป็นต้น
นับตั้งแต่รัฐบาลได้บังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเมื่อมีการรัฐประหาร
พบว่า มีบทบัญญัติของกฎหมายท�าให้บุคคลมีโอกาสเสี่ยงต่อการกระท�าที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีตามกติกา ICCPR และ
อนุสัญญา CAT กล่าวคือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ มาตรา ๑๕ ทวิ ให้อ�านาจเจ้าหน้าที่ด้าน
ความมั่นคงกักตัวบุคคลที่มีเหตุควรสงสัยเพื่อสอบถามได้เป็นเวลา ๗ วัน โดยไม่ต้องขอหมายจับจากศาล พระราชก�าหนด
บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ก�าหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวบุคคลได้ ๗ วัน อาจขอขยาย
เวลาได้ครั้งละ ๗ วัน แต่ไม่เกิน ๓๐ วัน ในสถานที่ที่ไม่ใช่ที่ควบคุมตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ
ค�าสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ ที่ให้อ�านาจเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอ�านาจเรียกตัวบุคคลเพื่อมาสอบถามข้อมูลหรือ
ให้ถ้อยค�าที่เป็นประโยชน์ และมีอ�านาจควบคุมตัวได้ไม่เกิน ๗ วัน
ส�าหรับการป้องกันและการคุ้มครองบุคคลจากการถูกกระท�าทรมานในสถานที่
ท�าให้บุคคลเสื่อมเสียอิสรภาพนั้น ในการบริหารจัดการเรือนจ�าและปฏิบัติต่อผู้ถูกคุมขัง
ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมราชทัณฑ์ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๗๙
พบว่า มีบทบัญญัติลงโทษทางวินัยแก่ผู้ต้องขังโดยการขังเดี่ยวไม่เกิน ๓ เดือน โดย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ�ากติกาฯ ได้มีความเห็นทั่วไปที่ ๒๐ เกี่ยวกับสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๗ ว่า การขังเดี่ยวที่ยาวนานของผู้ถูกคุมตัวหรือผู้ต้องขัง
๒๙
อาจเป็นการกระท�าต้องห้ามตามข้อ ๗ ของกติกา ICCPR โดยข้อก�าหนดขั้นต�่าของ
องค์การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (United Nations Standard Minimum
Rules for the Treatment of Prisoners) (ข้อก�าหนดแมนเดลา - Mandela Rules)
ปี ๒๕๕๘ ข้อ ๔๔ ก�าหนดว่า การขังเดี่ยวต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หมายถึง การขังเดี่ยว
เป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วันติดต่อกัน ซึ่งกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ โดยได้มีการปรับแก้
๓๐
บทบัญญัติลงโทษทางวินัยแก่ผู้ต้องขังเป็นการขังเดี่ยวไม่เกิน ๑ เดือน นอกจากนี้ กสม. ได้ด�าเนินโครงการตรวจเยี่ยมสถานที่เสี่ยง
ต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน : สถานีต�ารวจและเรือนจ�า พบว่า เรือนจ�ามีปัญหาแออัด ปัญหาจ�านวนผู้ต้องขังไม่ได้สัดส่วนกับผู้คุม ๓๑
สถานการณ์การทรมาน กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนโดยกล่าวอ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่ท�าร้ายร่างกาย ซ้อมทรมาน
เพื่อให้การรับสารภาพหรือให้ข้อมูล หรือในขณะจับกุมหรือควบคุมตัวอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๙ พบว่า
ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานจ�านวน ๑๐๒ ค�าร้อง ซึ่งเป็นค�าร้องที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ
๓๒
ค�าร้องที่เกิดขึ้นในพื้นที่อื่น มีทั้งกรณีที่กล่าวหาว่าเป็นการกระท�าของเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ต�ารวจ
๒๘ จาก การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้สาบสูญ, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.ryt9.com/s/cabt/2427722
๒๙ From CCPR General Comment No. 20: Article 7 (Prohibition of Torture, or Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment, Op.cit.
๓๐ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๑/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
๓๑ จากเอกสารถอดบทเรียนโครงการตรวจเยี่ยมสถานที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน สถานีต�ารวจและเรือนจ�า ประจ�าปีงบประมาณ ๒๕๕๔ – ๒๕๕๕ (น.๑๕),
โดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ๒๕๕๙, กรุงเทพฯ: ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
๓๒ จาก ระบบสารสนเทศเพื่อการรวบรวมและบริการสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน: ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน, โดย ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,
สืบค้นเมื่อ ๒๕๖๐ จาก http://hris.nhrc.or.th/
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 68 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙