Page 68 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 68
ให้สูญหายเป็นความผิดทางอาญา การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
มีการสอบสวนเมื่อมีข้อกล่าวหาว่ามีการทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้าย มีและด�าเนินมาตรการยุติการคุกคามและท�าร้าย
นักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน นักหนังสือพิมพ์และผู้น�าชุมชน มีกรอบทางกฎหมายเพื่อแก้ไขสถานการณ์ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิง
ใช้มาตรการเพื่อแก้ไขสภาพแออัดในเรือนจ�า หลีกเลี่ยงการใช้โซ่ตรวน มีการตรวจเยี่ยมสถานคุมขังทุกประเภทโดย
ผู้ตรวจเยี่ยมที่เป็นอิสระ ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงต�ารวจ เจ้าหน้าที่เรือนจ�า ประกันว่าผู้เสียหายจะได้รับ
๒๕
การชดใช้ ค่าชดเชยที่เป็นธรรม และการบ�าบัดฟื้นฟู และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจาก
การหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ข้อ ๗ ข้อย่อยที่ ๑ ก�าหนดให้รัฐภาคีแต่ละรัฐต้องก�าหนดให้การกระท�าให้บุคคลหายสาบสูญ
โดยถูกบังคับเป็นความผิดที่ลงโทษได้ โดยมีบทลงโทษที่เหมาะสม และโดยค�านึงถึงความร้ายแรงอย่างยิ่งของความผิดดังกล่าว
นอกจากนี้ ข้อเสนอแนะด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติภายใต้กลไกกระบวนการ Universal Periodie
Reviwe: UPR รอบที่ ๑ ปี ๒๕๕๔ ที่เกี่ยวกับการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายคือ ศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าเป็นภาคี
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย ออกหรือแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญา
CAT มีการด�าเนินการเพื่อประกันว่าข้อกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐจะได้รับการสอบสวนและด�าเนินคดี
และในรอบที่ ๒ ปี ๒๕๕๙ ไทยได้รับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายมาปฏิบัติคือ
การพิจารณาให้สัตยาบันพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา CAT และจัดตั้งกลไกป้องกันการทรมานระดับชาติ
ที่มีความเป็นอิสระ มีประสิทธิภาพ และได้รับการจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ รับรองว่ามีการน�าอนุสัญญา CAT ไปปรับใช้เป็น
กฎหมายภายในอย่างสมบูรณ์ ก�าหนดนิยามการทรมานซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อ ๑ ของอนุสัญญา CAT การก�าหนดเป็นความผิด
อาญาเฉพาะในกฎหมายไทย และด�าเนินการสืบสวนสอบสวนข้อกล่าวหาทั้งหมดเกี่ยวกับการทรมานและการทารุณกรรม
ด้วยความรวดเร็วและเป็นกลาง การให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจาก
การหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Person from Enforced
disappearance : CED) และผ่านกฎหมายภายในที่ก�าหนดให้การบังคับบุคคลให้หายสาบสูญและการทรมานเป็นความ
ผิดตามกฎหมายอาญาภายในประเทศที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ พยายามแก้ปัญหาการบังคับให้หายสาบสูญ
ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญา CED เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ และในการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ต่อต้านการทรมานฯ (OPCAT) รัฐบาลโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับสมาคมเพื่อป้องกันการ
ทรมาน (Association for Prevention of Torture : OPCAT) ได้จัดสัมมนาว่าด้วยเรื่องพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้าน
การทรมานฯ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โดยวัตถุประสงค์ของพิธีสารคือ การพัฒนาระบบการเข้าเยี่ยมสถานที่
๒๖
ซึ่งท�าให้บุคคลเสื่อมเสียซึ่งอิสรภาพโดยหน่วยงานนานาชาติและระดับชาติที่เป็นอิสระอย่างสม�่าเสมอ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการทรมาน
การปฏิบัติและการลงโทษที่ทารุณขาดมนุษยธรรม หรือลดทอนความเป็นมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี
บทที่
ในส่วนของการผลักดันให้มีการปฏิบัติตามอนุสัญญา CAT โดยอนุวัติการกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ ๓
กระทรวงยุติธรรมได้ยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ พ.ศ. ....
การยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมได้ผนวกหลักการและสาระส�าคัญของ
อนุสัญญา CAT และอนุสัญญา CED ไว้ด้วยกัน และแต่งตั้งคณะท�างานแก้ไขกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญา CAT
ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้แทนของส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม
๒๗
๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการ
คุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้สาบสูญ และร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคล
๒๕ จาก รายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจ�าปี ๒๕๕๘, โดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ๒๕๕๙, กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
๒๖ การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย�่ายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการ
เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย (น. ๔๗), โดย คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ๒๕๕๘, กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๒๗ รายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายที่ ๒๙๓/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติป้องกัน
และปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหาย พ.ศ. ....
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 67 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙