Page 67 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 67
ความเสียหายกับเหยื่อที่ถูกปฏิบัติโดยไม่ชอบ รัฐไม่อาจลิดรอนสิทธิของปัจเจกบุคคลในการที่จะได้รับการเยียวยาอย่าง
๒๓
มีประสิทธิภาพ รวมถึงการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และการฟื้นฟูอย่างเต็มที่เท่าที่เป็นไปได้ และข้อ ๑๐ ข้อย่อยที่ ๑ ก�าหนดให้
บุคคลทั้งปวงที่ถูกลิดรอนเสรีภาพต้องได้รับการประติบัติด้วยความมีมนุษยธรรมและเคารพในศักดิ์ศรีแต่ก�าเนิดของ
ความเป็นมนุษย์
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ�ากติการะหว่างประเทศฯ ยังได้มีความเห็นทั่วไปที่ ๒๑ เกี่ยวกับสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๐ ว่า การปฏิบัติต่อบุคคลที่ถูกจ�ากัดเสรีภาพด้วยความเป็นมนุษย์และด้วยความเคารพต่อศักดิ์ศรี
ของเขานั้นเป็นกฎพื้นฐานและถือเป็นสากล การบังคับใช้จึงไม่ขึ้นอยู่กับทรัพยากรทางวัตถุที่มีอยู่ในรัฐภาคี รัฐจะต้องระบุถึง
ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการก�ากับดูแลสถานที่จองจ�านักโทษอุกฉกรรจ์ มาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันการทรมาน และการปฏิบัติ
อย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต�่าช้า ๒๔
นอกจากนี้ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ได้ก�าหนดนิยามของค�าว่า “การทรมาน” (Torture) ไว้ว่าหมายถึง
“การกระท�าใดก็ตามโดยเจตนาที่ท�าให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกายหรือจิตใจต่อบุคคลใด
บุคคลหนึ่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือค�าสารภาพจากบุคคลนั้นหรือจากบุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้น
ส�าหรับการกระท�าซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระท�าหรือถูกสงสัยว่าได้กระท�า หรือเป็นการข่มขู่ให้กลัวหรือเป็นการบังคับ
ขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม หรือเพราะเหตุผลใด ๆ บนพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นในรูปใด เมื่อความ
เจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานนั้น กระท�าโดยหรือด้วยการยุยง หรือโดยความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐ
หรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในต�าแหน่งทางการ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานที่เกิดจาก
หรืออันเป็นผลปกติจาก หรืออันสืบเนื่องมาจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย” อีกทั้งอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
ข้อ ๒ ก�าหนดห้ามไม่ให้มีการทรมานในรัฐภาคีในทุกสถานการณ์ และข้อ ๔ ก�าหนดว่ารัฐต้องด�าเนินการให้การกระท�าทั้งหลาย
ที่เป็นการทรมานเป็นความผิดภายใต้กฎหมายอาญา
๓.๑.๒ สถานการณ์ทั่วไป
ประเทศไทยได้ท�าค�าแถลงตีความอนุสัญญาต่อต้าน
การทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (CAT) ในข้อ ๑ นิยามค�าว่า
“ทรมาน” ข้อ ๔ การก�าหนดให้การทรมานเป็นความผิดอาญา
และข้อ ๕ เขตอ�านาจเหนือความผิด ซึ่งให้เป็นไปตามประมวล
กฎหมายอาญา และจัดท�าข้อสงวนตามข้อ ๓๐ วรรคหนึ่ง
การให้น�าข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความหรือน�าอนุสัญญาไปใช้ขึ้นสู่
การวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งคณะกรรมการต่อต้านการทรมานในสมัยประชุมครั้งที่ ๑๒๓๙ เมื่อวันที่
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้มีข้อสังเกตเชิงสรุป กรณีประเทศไทยว่าประเทศไทยควรด�าเนินการยกเลิกค�าแถลงตีความข้อ ๑
ข้อ ๔ และข้อ ๕ สอบสวนกรณีมีการกระท�าการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ฟ้องด�าเนินคดีและลงโทษผู้ที่รับผิดชอบ
ประกันไว้ในกฎหมายว่าไม่อาจอ้างพฤติการณ์ใดเพื่อเป็นเหตุผลส�าหรับการทรมาน ใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง
อย่างจ�ากัดและเท่าที่จ�าเป็น ทบทวนการบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ใช้มาตรการทางกฎหมายและทางปฏิบัติ
เพื่อประกันว่าผู้ถูกคุมขังจะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายขั้นพื้นฐาน (Legal Safeguard) ก�าหนดให้การบังคับบุคคล
๒๓ From CCPR general comment No. 20: Article 7 (Prohibition of Torture, or Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment)
Adopted at the Forty-fourth Session of the Human Rights Committee, by UN Human Rights Committee (HRC), 1992, retrieved from http://www.refworld.
org/docid/453883fb0.html
๒๔ From CCPR general comment No. 21: Article 10 (Humane treatment of persons deprived of their liberty), by UN Human Rights Committee
(HRC), 1992, retrieved from http://www.refworld.org/docid/453883fb11.html
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 66 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙