Page 57 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 57

๔.  สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ



                 สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะที่อาจเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนที่จะกล่าวถึง ๘ กลุ่ม ได้แก่
        กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติ กลุ่มคนพิการ กลุ่มเด็ก กลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
        กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม และกลุ่มสตรี มีความเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิในด้านต่าง ๆ ที่ได้รับการ
        ประกันทั้งจากพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรฐานระหว่าง
        ประเทศอื่น ๆ ตลอดจนการประกาศรับตามข้อเสนอและที่รัฐบาลประกาศ หรือยอมรับการด�าเนินการในกระบวนการ UPR

        กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากเป็นกลุ่มบุคคลที่สังคมให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นกลุ่มเฉพาะที่มีแนวโน้มที่จะถูก
        ละเมิดสิทธิมนุษยชนสูงแล้ว ยังเป็นกลุ่มที่มักจะถูกละเมิดซ�้าซ้อนด้วยเหตุแห่งการมีสถานะต่าง ๆ เช่น กลุ่มสตรีที่พิการ กลุ่ม
        เด็กที่เป็นผู้ติดตามแรงงานเข้าเมืองหรือมีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มสตรีหรือกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้น

        โดย กสม. พบว่า รัฐบาลได้ให้ความสนใจและมีความพยายามที่จะคุ้มครองสิทธิของกลุ่มบุคคลทั้ง ๘ กลุ่ม ผ่านการก�าหนดนโยบาย
        การตรากฎหมายและการมีแนวปฏิบัติที่มีความก้าวหน้าหลายประการ อย่างไรก็ตาม กรณีที่พบเห็นทั่วไปก็คือ
        การขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยงานในการน�านโยบายและกฎหมายไปปฏิบัติ การขาดการบูรณาการ
        (policy coherence) การใช้นโยบายและกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ท�าให้กลุ่มเฉพาะแต่ละกลุ่มมิได้รับ
        การคุ้มครองสิทธิตามเจตนารมณ์ของการก�าหนดนโยบายและกฎหมายเท่าที่ควร โดยสรุปได้ดังนี้



        กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติ
                 ปัจจุบันสังคมไทยมีความเป็นพหุลักษณ์ (pluralism) มากยิ่งขึ้น โดยพบว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐ และไร้สัญชาติ

        ที่ปรากฏตัวอยู่ในประเทศไทย ซึ่งล้วนอยู่ในประเทศไทยมานานหลายชั่วอายุคน แต่ยังประสบสภาวะการไร้รัฐ ไร้สัญชาติ
        โดยสาเหตุหลักมาจากข้อจ�ากัดของกฎหมายสัญชาติ และสิทธิในความเป็นพลเมืองของรัฐไทย ท�าให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชน
        ขั้นพื้นฐาน หรือการพัฒนาต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังขาดนิยามที่ชัดเจนเกี่ยวกับอัตลักษณ์ตัวตนของชนพื้นเมือง (indigenous
        peoples) ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อปัญหาสิทธิและสถานะของบุคคคลในรัฐไทยทั้งสิ้น จากการตรวจสอบกรณีร้องเรียน กสม.
        พบลักษณะส�าคัญที่ท�าให้เกิดปัญหาสิทธิของบุคคลในกลุ่มนี้ กล่าวคือ

                 •  การเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ จากการขาดเอกสารพิสูจน์ตน การขาดความชัดเจน หรือปัญหาข้อติดขัดในการ
        เพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร และขอมีบัตรประจ�าตัวประชาชน
                 •  การเป็นบุคคลไร้รากเหง้า ทั้งเหตุจากการก�าพร้าบุพการี หรือการถูกทอดทิ้ง

                 •  การถูกจ�าหน่าย หรือการระงับความเคลื่อนไหวรายการบุคคลทางทะเบียนราษฎร
                 •  การขาดความชัดเจนของกฎหมาย นโยบาย หรือการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการขอแปลงสัญชาติ (เป็นไทย) ส�าหรับ
        บุคคลไร้สัญชาติในบางกรณี (อาทิ บุคคลผู้ท�าคุณประโยชน์)


                 ในขณะที่ รัฐได้ด�าเนินการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ ไร้สัญชาติ

        อย่างต่อเนื่อง  โดยการตราและพัฒนากฎหมาย  และนโยบาย
        ให้สอดคล้องกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ ไร้สัญชาติใน ๔ ส่วนหลัก
        คือ (๑) การแก้ไขการไร้สัญชาติที่เกิดจากประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่

        ๓๓๗ โดยก�าหนดพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติม
        (ฉบับที่  ๔)  พ.ศ.  ๒๕๕๑  มาตรา  ๒๓  เพื่อแก้ไขปัญหาบุคคล
        ไร้สัญชาติอันเนื่องมาจากการยกเลิกหลักเกณฑ์การให้สัญชาติ
        โดยหลักดินแดน (๒) การให้สัญชาติกับบุคคลที่สืบสันดานจากบุพการีที่มีเชื้อสายไทย แต่ไม่ได้สัญชาติไทย หรือเสียสัญชาติไทย
        โดยผลของกฎหมายอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเขตแดน (state succession) อาทิ กลุ่มคนพลัดถิ่นเชื้อสายไทย

        หรือคนไทยพลัดถิ่น (๓) การลดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติสัญชาติไทยเฉพาะราย (๔) การแก้ไขปัญหาสัญชาติ


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  56  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62