Page 58 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 58
และสถานะบุคคลของเด็กนักเรียน นักศึกษา และบุคคลไร้สัญชาติในประเทศไทยที่เป็นบุตรของชนกลุ่มน้อย และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิด
ในราชอาณาจักรไทย รวมถึงเด็กและบุคคลที่ก�าลังศึกษาอยู่ในสถาบัน การศึกษาหรือส�าเร็จการศึกษาแล้ว ให้ได้สัญชาติไทย
เป็นการทั่วไป โดยการตราพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ที่ก�าหนดหลักเกณฑ์เรื่องการ
จดทะเบียนการเกิดของเด็กทุกคนที่เกิดในราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
ก�าหนดหลักการเกี่ยวกับการจัดท�าทะเบียนประวัติของบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไว้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ รัฐยังด�าเนินการขับเคลื่อน นโยบาย แนวทางต่าง ๆ ให้ก้าวหน้าบรรลุผลเป็นรูปธรรม อาทิ โครงการก�าหนด
สถานะให้แก่บุคคลไร้สัญชาติ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษาให้ได้รับสัญชาติไทยอย่างถูกต้อง กรณี
กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือผ่อนปรนให้บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วสามารถเดินทางออกนอกพื้นที่เขตอ�าเภอ
ที่ควบคุมได้ แต่ให้อยู่ภายในเขตจังหวัดนั้น ทั้งนี้ กสม. ยังมีความกังวลต่อสถานการณ์สิทธิของกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติ (อายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป)
ซึ่งมีทั้งสิ้น ๘๐,๑๑๘ คน ในขณะที่มีเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติที่อยู่ในสถานศึกษา และไม่มีเอกสารพิสูจน์ตัวบุคคล (เด็กรหัส G)
จ�านวน ๙๐,๙๖๖ คน และเด็กและเยาวชนที่เติบโตในประเทศไทย (เกิดนอกประเทศไทย) ซึ่งยังประสบปัญหาการพัฒนาสถานะ
บุคคลตามกฎหมายไทย
กลุ่มคนพิการ
การด�าเนินการเพื่อส่งเสริม คุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของรัฐมีความก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ
ความก้าวหน้าในฐานะรัฐภาคีพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน รัฐได้ยื่นภาคยานุวัติสารต่อสหประชาชาติเพื่อเข้าเป็นภาคีพิธีสาร
เลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (OP- CRPD) เพื่อประกันสิทธิ เสรีภาพให้แก่คนพิการกรณีถูกละเมิดสิทธิ
ที่ได้รับการรับรองในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) และกระบวนการเยียวยาภายในประเทศไม่สามารถบรรลุผลได้
ส�าหรับความก้าวหน้าภายในประเทศ รัฐได้แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขของคนพิการ
โดยมีค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๕๘/๒๕๕๙ เรื่องการรับบริการสาธารณสุขของคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม นอกจากนี้ ยังก�าหนดและขับเคลื่อนนโยบาย แนวทางต่าง ๆ เพื่อให้คนพิการ
ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เข้าถึงสิทธิประโยชน์และความช่วยเหลือจากรัฐ อาทิ โครงการสานพลังสู่มิติใหม่สร้าง
งานสร้างอาชีพคนพิการ ๑๐,๐๐๐ อัตรา เพื่อขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการ และก�าหนดนโยบาย ปี ๒๕๕๙ เป็น
ปีแห่งความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาส�าหรับบุคคลที่มีความต้องการจ�าเป็นพิเศษ เพื่อส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงการศึกษา
ทุกระบบและทุกระดับการศึกษา การขับเคลื่อนแนวทางการสร้างอารยะสถาปัตย์ เพื่อให้ทุกคนในสังคมได้ใช้ประโยชน์
ร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตาม รัฐควรมีการขับเคลื่อนนโยบาย แนวทางต่าง ๆ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการให้เข้าถึงครอบคลุม ภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
ทุกพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ห่างไกล และควรปฏิบัติการเชิงรุกในการสร้างความตระหนักรู้แก่สังคมให้เข้าใจ
ถึงสิทธิของคนพิการให้มากยิ่งขึ้น
กลุ่มเด็ก
ในปี ๒๕๕๙ รัฐมีความก้าวหน้าในการด�าเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กหลายประการที่สอดคล้องกับ
ข้อกังวลของคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ (CRC) ได้แก่ การให้ความส�าคัญต่อภาวะโภชนาการ และการเลี้ยงดูเด็ก
แรกเกิด การอนุมัติร่างกฎหมายก�ากับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่ การมีมาตรการแก้ไขปัญหาการออกจากโรงเรียนกลางคัน บทที่
๒
การปกป้องคุ้มครองเด็กจากการกระท�ารุนแรง และการคุ้มครองเด็กจากการใช้แรงงานทุกรูปแบบ อย่างไรก็ดี ยังพบข้อมูล
สถานการณ์ที่น่าห่วงกังวลหลายประการ กล่าวคือ
• ปัญหาการกระท�ารุนแรงต่อเด็ก
• สถานการณ์การเสียชีวิตของเด็กจากการจมน�้า อุบัติเหตุทางถนน และอุบัติเหตุจากรถรับส่งนักเรียน โดยมี
จ�านวนเด็กที่เสียชีวิตจากการจมน�้า ๖๙๙ ราย เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากรถโดยสารทัศนะศึกษาและรถรับจ้างรับส่งนักเรียน
๑๐ ราย
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 57 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙