Page 60 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 60
• มิติการกระท�าหรือการก�าหนดให้เป็นความผิดในด้าน
กฎหมาย นโยบาย หรือบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังพบ
ลักษณะของการตีความ หรืออาจจะเป็นช่องทางที่น�ามา
ใช้ตีความในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อการเลือกปฏิบัติ
ในทางหนึ่งทางใด อาทิ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่าง
๑๖
เพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งมุ่งคุ้มครองทั้งหญิง ชาย และผู้มี
การแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยก�าเนิดจากการถูกเลือกปฏิบัติ
ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมยังมิได้มุ่งคุ้มครองเฉพาะผู้หญิง
และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ
จากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ นอกจากนี้ การตรวจสอบการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ยังเปิดช่องให้
มีการเลือกปฏิบัติได้ โดยยกเว้นให้กับการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ
เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและ
๑๗
ความปลอดภัย
• มิติการกระท�าหรือการก�าหนดให้เป็นการตีตราหรือเหมารวม โดยพบว่า มีการตีตราและการคุกคามทางเพศและ
การกระท�าความรุนแรงต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในสถานการณ์ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อมวลชนยังคงผลิตซ�้า
ภาพต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในลักษณะเหมารวมที่มีความแตกต่างจากคนทั่วไป
• มิติการยอมรับทางกฎหมายที่มีการแสดงวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ พบว่า มีกฎหมายที่มีการแสดง
วิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมในภาพรวม รวมถึงยังไม่มีการปรับปรุง แก้ไข กฎ ระเบียบและข้อบังคับ
๑๘
ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
• มิติการยอมรับหรือการอยู่ร่วมกับวิถีวัฒนธรรมอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการแสดงวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์
ทางเพศที่แตกต่างหลากหลาย พบว่า บุคคลที่แสดงวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศสามารถด�าเนินวิถีชีวิตและประกอบอาชีพ
หรือได้รับการจ้างงานในอาชีพที่แตกต่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อบันเทิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า มีรายงานว่า
มีการเลือกปฏิบัติในเชิงระบบ (systematic discrimination) ที่เกิดขึ้น ทั้งการเข้าถึงโอกาสในการศึกษา หรือการฝึกอบรม
เพื่อพัฒนาศักยภาพ การสมัครงาน ตลอดจนการเข้ารับราชการ หรือการประกอบอาชีพบางประเภท
๑๙
• มิติความรู้ ความเข้าใจ ต่อวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ พบว่า ประชาชนในบางส่วนยังคงมีทัศนคติ
ซึ่งจ�าเป็นต้องท�าความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
กลุ่มผู้สูงอายุ ภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
รัฐมีความก้าวหน้าในการด�าเนินงานด้านผู้สูงอายุ โดยมีนโยบาย แผนงานระดับชาติ ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับ
สังคมผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม “ดัชนีชี้วัดเกี่ยวกับผู้สูงอายุทั่วโลก (Global Age Watch Index)” ซึ่งประเมินผลความส�าเร็จของ
นโยบายด้านผู้สูงอายุของประเทศทั่วโลกจากข้อมูลความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ ความสามารถ และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออ�านวย
โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับในระดับกลาง (ล�าดับที่ ๓๔ จาก ๙๖ ประเทศ) ทั้งนี้ กสม. ยังพบสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
๑๖ มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” หมายความว่า การกระท�าหรือไม่
กระท�าการใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจ�ากัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง บทที่
๒
หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยก�าเนิด
๑๗ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติว่า “มาตรา ๑๗ การก�าหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของ
หน่วยงานของรัฐ องค์การเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศจะกระท�ามิได้ การด�าเนินการตามวรรคหนึ่ง เพื่อขจัดอุปสรรค หรือ
ส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย หรือการปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคง
ของประเทศ ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ”
๑๘ จาก แต่งหญิงรับพระราชทานปริญญาบัตร...สัมผัสถึงความภูมิใจของ ๔ บัณฑิตเพศที่สาม ม.อุบลฯ, โดย เพลิน วิชัยวงศ์, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.siamedunews.com/
articles/42284682/แต่งหญิงรับพระราชทานปริญญาบัตร-ความภูมิใจของบัณฑิตเพศที่สาม
๑๙ อาทิ กรณีของเคท ครั้งพิบูลย์ ผู้หญิงข้ามเพศ นักกิจกรรมเพื่อสิทธิเพศทางเลือก ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นอาจารย์ประจ�ามหาวิทยาลัยของรัฐบาล แต่ยังไม่ได้รับการ
บรรจุ และไม่มีการแจ้งความคืบหน้าใด ๆ และกรณีของเปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา นักกิจกรรมเพื่อสิทธิเพศทางเลือกกับกรณีพิพาทกับการจ้างงานขององค์กรระหว่างประเทศ
จนเป็นเหตุให้มีการยุติสัญญาการจ้างงานอย่างไม่เป็นธรรม และมีการเจรจาเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 59 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙