Page 62 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 62

กสม. เห็นว่า ปัญหาเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติข้างต้น ยังเป็นปัญหาเดิมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือยังไม่เห็นความ
            ก้าวหน้าในการด�าเนินงานที่เป็นรูปธรรม ดังนั้น จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาให้ความส�าคัญกับการด�าเนินการดังกล่าว



            กลุ่มสตรี
                     รัฐมีความก้าวหน้าในการปฏิรูปกฎหมาย
            ตามพันธกรณีอนุสัญญา CEDAW มาตามล�าดับ โดยได้บรรจุ
            หลักการของความเสมอภาคระหว่างเพศไว้ในรัฐธรรมนูญ

            แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... (ฉบับผ่านการ
                                          ๒๐
            ลงประชามติ วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙)  ในขณะที่ ในปี ๒๕๕๙
            ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ ๗๑ จาก ๑๔๔ ประเทศทั่วโลก

            ที่ลดความเหลื่อมล�้าระหว่างเพศได้มากที่สุด ซึ่งตกลงมาจาก
            อันดับที่ ๔๐ ในปี ๒๕๔๙ (ระยะเวลา ๑๐ ปี) โดยมีประเด็น
            ส�าคัญที่มีสัดส่วนลดลงอย่างมาก ได้แก่ โอกาสในการส�าเร็จ
            การศึกษา โอกาสและส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ และอ�านาจทางการเมือง ในขณะที่ในมิติด้านสุขภาพและการด�ารงชีวิต
            ประเทศไทยถูกจัดในล�าดับที่ ๑ จาก ๑๔๔ ประเทศทั่วโลกปี ๒๕๕๙ สถิติในประเด็นความรุนแรงต่อสตรียังคงเพิ่มขึ้น โดยมี

            สตรีที่ถูกกระท�าความรุนแรงและเข้ามารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ทั้งสิ้น จ�านวน ๑๘,๙๑๙ ราย เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๘ ที่มีจ�านวน
            ๑๓,๒๖๕ ราย นอกจากนี้ สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวก็มีเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยข้อมูลสถิติการฆ่ากันตายในครอบครัว
            ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติจากข่าวหนังสือพิมพ์ ๕ ฉบับ พบว่า สถิติการฆ่ากันตายในครอบครัว ปี ๒๕๕๒ มีจ�านวน ๑๗๕

            ราย ปี ๒๕๕๓ มีจ�านวน ๑๘๖ ราย และ ปี ๒๕๕๖ มีจ�านวน ๒๐๖ ราย โดยส่วนใหญ่สามีเป็นผู้ฆ่าภรรยา อีกทั้งสถิติหย่าร้าง
            ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมาของประเทศไทย ยังมีเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ ๓๓ (ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๙ - ๒๕๕๙) ทั้งนี้ สถานการณ์สิทธิสตรี
            เป็นปัญหาที่มีรากเหง้าจากเจตคติแบบเก่า (stereotypes) ที่มีต่อสตรีอันเป็นพื้นฐานไปสู่การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ
            ดังนั้น รัฐจึงควรด�าเนินการทุกวิถีทางในการคุ้มครอง มิให้เกิดการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใด ๆ เพื่อให้บรรลุ
            เป้าหมายความเสมอภาค และจะต้องด�าเนินการในทุกวิถีทางในการท�าสิทธินั้น ๆ ให้เกิดจริงในทางปฏิบัติ โดยรับรองและ

            ด�าเนินมาตรการพิเศษต่าง ๆ เพื่อบรรลุความเสมอภาคในทางปฏิบัติระหว่างสตรีและบุรุษในทุก ๆ ด้าน นอกจากนี้
            รัฐยังควรด�าเนินการด้านนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิสตรีให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
            การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)                                                                                ภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
















                                                                                                                   บทที่
                                                                                                                    ๒




                     ๒๐  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... (ฉบับผ่านการลงประชามติ วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙) ซึ่งต่อมา ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๖
            เมษายน ๒๕๖๐ เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๗ บัญญัติว่า
                      มาตรา ๒๗ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
                      ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
                      การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นก�าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สถานภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะ
            ของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระท�ามิได้


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  61  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67