Page 61 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 61

ผู้สูงอายุในประเทศไทยในส่วนส�าคัญ คือ
                 •  สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุจ�านวนมากยังประสบปัญหาความยากจน มีรายได้ต�่ากว่าเส้นความยากจน

        (๒,๖๔๗/คน/เดือน) ยังคงต้องพึ่งพิงรายได้จากผู้อื่น และต้องหารายได้เพื่อการด�ารงชีวิต
                 •  การเข้าถึงระบบสวัสดิการ พบว่าผู้สูงอายุจ�านวนมากที่ยังมีข้อจ�ากัดในการได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
                 •  สถานการณ์ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว การเลือกปฏิบัติ การขาดโครงสร้าง
        พื้นฐานส�าหรับผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ การแสวงหาประโยชน์ทางการเงิน การขาดระบบดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษในระยะยาว เป็นต้น



                                                                    นอกจากนี้ ยังพบว่าสถิติการฆ่าตัวตายส�าเร็จของ
                                                           ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่การขับเคลื่อนงานด้าน
                                                           ผู้สูงอายุตามนโยบายและแผนงานด้านผู้สูงอายุยังไม่มีสัมฤทธิ์

                                                           ผลในทางปฏิบัติ จึงเสนอให้รัฐด�าเนินมาตรการที่จ�าเป็น และ
                                                           เป็นรูปธรรม ซึ่งท�าให้สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นจริงโดยผลักดัน
                                                           ให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผู้สูงอายุอย่างจริงจัง
                                                           การประกัน คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุ
                                                           ในนโยบายด้านการพัฒนาที่สอดคล้องกับหลักการตาม

        เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการส่งเสริม
        และคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ และการสนับสนุนกระบวนการจัดท�าอนุสัญญาระหว่างประเทศทางด้านสิทธิมนุษยชนของ
        ผู้สูงอายุภายใต้กรอบการท�างานของคณะท�างาน UN Open – ended Working Group on Ageing ของสหประชาชาติ



        กลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม
                                                                    ประเทศไทยยังมิได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วย
                                                           การคุ้มครองสิทธิของแรงงานย้ายถิ่นและสมาชิกในครอบครัว
                                                           (ICRMW) อย่างไรก็ตาม สิทธิของแรงงานย้ายถิ่น (แรงงาน

                                                           ข้ามชาติ) ได้ถูกรับรองอยู่ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้าน
                                                           สิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีหลายฉบับ ในขณะที่
                                                           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช

                                                           ๒๕๕๗ จะเน้นการรับรองเฉพาะสิทธิและเสรีภาพของคนไทย
                                                           เป็นส�าคัญ แต่ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ
                                                           โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทดแทน
        แรงงานคนไทย โดยในปี ๒๕๕๙ แม้รัฐได้มีนโยบาย/มาตรการเพื่อส่งเสริมสิทธิและแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติหลายประการ
        อาทิ การออกพระราชก�าหนดการน�าคนต่างด้าวมาท�างานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ การจัดท�าโครงการความ

        ร่วมมือทางวิชาการเพื่อการแก้ไขปัญหารูปแบบการท�างานที่ไม่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและอุตสาหกรรม
        ต่อเนื่องประมงทะเล รวมถึงการจัดการด้านนโยบายทั้งการพิสูจน์สัญชาติ หรือการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ซึ่งท�าให้สถิติ
        แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังพบปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของแรงงานข้ามชาติและ

        ผู้ติดตามในหลายส่วน กล่าวคือ
                 •  กระบวนการพิสูจน์สัญชาติของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีความยากล�าบากในการเข้าถึง และมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
        จ�านวนมาก
                 •  ปัญหาสภาพการท�างานที่ไม่ปลอดภัย การเข้าถึงและใช้สิทธิจากระบบประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพ
        รวมถึงการไม่สามารถจัดตั้งและเป็นกรรมการสหภาพแรงงานได้





                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  60  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66