Page 56 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 56

กสม. พบว่า กลุ่มเด็กและสตรี โดยเฉพาะในกลุ่มที่สูญเสีย
            ผู้น�าครอบครัวในเหตุการณ์ความไม่สงบ กลายเป็นกลุ่มประชากร

            ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างเรื้อรัง จึงมีข้อเสนอ
            ให้รัฐต้องมีแนวทางในการเยียวยาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อ
            ผู้ได้รับผลกระทบกลุ่มนี้ ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ


            สิทธิชุมชนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                     ในปี ๒๕๕๙ สถานการณ์สิทธิชุมชนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังคงมีสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับปีที่
            ผ่านมา โดยรัฐมีความพยายามที่จะด�าเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งในหลายกรณียังขาดกระบวนการมีส่วนร่วม
            ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขาดความเข้าใจในบริบทของชุมชน ตลอดจนขาดการค�านึงถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อ

            ชุมชน จึงส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐ กับประชาชนและชุมชน และท�าให้เกิดความเหลื่อมล�้าในสังคมมากยิ่ง
            ขึ้น โดยมีสถานการณ์ส�าคัญ ๆ ได้แก่
                     •  การบริหารจัดการพลังงาน รัฐบาลผลักดันให้มีการสร้างโรงงานไฟฟ้าหลายแห่ง เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงาน
            ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา โรงไฟฟ้าถ่านหินอ่างทอง และโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดชัยภูมิ
            โดยพบว่า ประชาชนและชุมชนในพื้นที่มีความกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและยังมิได้มีส่วนร่วมอย่างจิงจัง จึงท�าให้เกิด

            การคัดค้าน
                     •  การบริหารจัดการเหมืองแร่ คณะรัฐมนตรีมีมติ
            ก�าหนดยุติการท�าเหมืองทั่วประเทศหลังจากวันที่ ๓๑ ธันวาคม

            ๒๕๕๙ และได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐
                                                                 ๑๕
            ซึ่งต่อมา กสม. ได้เสนอให้ถอนร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ….
            ในขณะที่รัฐควรพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบ
                     •  การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินและป่าไม้
            สืบเนื่องจากการใช้ค�าสั่ง คสช. ที่ ๖๔/๒๕๕๗ และที่ ๖๖/๒๕๕๗ นั้น

            กสม. เห็นว่าการด�าเนินนโยบายพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐ ยังมิได้ค�านึง
            หรือใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนและชุมชน นอกจากนี้ การด�าเนิน
            นโยบายพัฒนายังขาดความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับนโยบายอื่น ๆ รวมถึงแนวทางการพัฒนาซึ่งเป็นวาระของชาติ

                     •  การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนอย่างน้อย ๒ ประการ คือ ค�าสั่ง คสช. ที่  ภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
            ๓/๒๕๕๙ และ ๔/๒๕๕๙ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน และสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อม
            ที่ดี ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาและกระบวนการ
            จัดท�ากฎหมายอยู่ภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนและหลักสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
            เมื่อมีการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายทั้งสองฉบับในพื้นที่จัดท�าโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ท�าให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว

            ได้รับผลกระทบและมีความเสี่ยงกับการได้รับผลจากการที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป


                     กสม. พบว่า การด�าเนินโครงการต่าง ๆ ทั้งการจัดการพลังงาน เหมืองแร่ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน และป่าไม้   บทที่
                                                                                                                    ๒
            ตลอดจนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ยังมิได้ด�าเนินการตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่ขั้นตอน การให้ข้อมูล
            การรับฟังความคิดเห็น และขาดการวางแผนหรือเตรียมความพร้อมในการเยียวยา หรือแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ
            อันเกิดจากโครงการ ดังนั้น จึงเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในพื้นที่โครงการด�าเนินการใด ๆ อันเป็นการ
            ป้องกัน หลีกเลี่ยง และการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยค�านึงถึงสิทธิของประชาชน




                     ๑๕   อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  55  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61