Page 53 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 53
สิทธิด้านสุขภาพ
รัฐได้มีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการประกัน
สิทธิในสุขภาพ และมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะด�าเนินการ
เพื่อบรรลุมาตรฐานสูงสุดที่เป็นไปได้ และสอดคล้องกับ
ข้อ ๑๒ ของกติกา ICESCR อาทิ การส่งเสริมให้ประชาชน
มีสุขภาวะและสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต การออกประกาศ
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ธรรมนูญว่าด้วยระบบ
สุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๙ การจัดตั้งเขตสุขภาพ จ�านวน ๑๓ เขต ครอบคลุม
พื้นที่ทั่วประเทศไทย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้าน
สุขภาพเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการสาธารณสุขให้ดีขึ้น โดยท�าให้ประชากรผู้ทรงสิทธิมากกว่าร้อยละ ๙๙ ของประชากร
ทั้งหมดเข้าถึงสิทธิในบริการสาธารณสุขของรัฐ ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage)
การลดอัตราการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสจากมารดาสู่บุตร ต�่ากว่าร้อยละ ๒ การจัดตั้งคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาล
ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจ�านวน ๔๒๙ แห่ง และการลดอัตราการตั้งครรภ์ของกลุ่มวัยรุ่นไทยอายุ ๑๕ - ๑๙ ปี
(จากอัตรา ๔๓.๘ คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คนในวัยเดียวกัน) การด�าเนินการเพื่อจะคืนสิทธิผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพ
ตามมาตรา ๔๑ (๔) และ(๕) ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗
ประมาณ ๙๓๐,๐๐๐ คน ทั้งนี้ ยังพบว่ามีเรื่องที่ยังคงเป็นประเด็นปัญหา ได้แก่
• ประชากรบางกลุ่มยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ อาทิ กลุ่มเด็กนักเรียนไร้สัญชาติและไม่มีหลักฐาน
ทางทะเบียนราษฎร กลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มคนด้อยโอกาส กลุ่มคนชายขอบ กลุ่มคนที่อาศัยในเขตชนบท กลุ่มเด็กวัยรุ่น และ
กลุ่มผู้ใช้สารเสพติด
• การจัดการลดความเหลื่อมล�้าในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการพัฒนาคุณภาพของระบบสุขภาพที่มิได้
จ�ากัดเพียงการให้บริการสาธารณสุข แต่ต้องค�านึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ
สิทธิในการประกอบอาชีพและการท�างาน
กติกา ICESCR ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมี
พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามได้ประกันสิทธิด้านแรงงาน ไว้ใน
ข้อ ๖ - ๘ ได้แก่ (๑) สิทธิในการท�างาน (๒) สิทธิในการได้รับ
เงื่อนไขการท�างานที่เหมาะสมเป็นธรรม และ (๓) สิทธิที่จะ
ก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน และประเทศไทยได้เข้าเป็น
ภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) จ�านวน
๑๔ ฉบับ โดยคณะกรรมการประจ�ากติกา ICESCR และ กสม.
ยังพบข้อท้าทายต่อสถานการณ์ด้านสิทธิในการประกอบอาชีพและการท�างานในประเทศไทย ได้แก่
• สภาพการท�างานและหลักประกันสังคมของคนท�างานบางกลุ่ม การใช้แรงงานบังคับ ค่าจ้างขั้นต�่าที่ก�าหนดโดยรัฐ
ไม่สามารถประกันให้แรงงานและครอบครัวมีสภาพการด�ารงชีวิตอย่างเหมาะสมได้ และสิทธิด้านสหภาพแรงงาน
• การแก้ไขปัญหาแรงงานประมง โดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ พร้อมกับการสร้าง
เงื่อนไขในการเข้าถึงระบบประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน
ทั้งนี้ พบว่า รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการประกอบอาชีพและการท�างานของแรงงานทั้งในและ
นอกระบบ โดยการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ทั้ง ๒ ฉบับ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการงานที่มีคุณค่า (decent work) และการ
สนับสนุนการน�ามาตรฐานแรงงานไทย และแนวทางปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีมาใช้ในสถานประกอบการ
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 52 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙