Page 55 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 55

แต่กฎหมายเหล่านั้นยังมีช่องว่างที่อาจจะไม่เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ องค์การสหประชาชาติจึงได้
        ออกหลักการสหประชาชาติแนวทางปฏิบัติว่าด้วยการด�าเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UNGPs) เพื่อก�าหนดบทบาทหน้าที่

        ของภาครัฐและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน โดยที่ผ่านมา พบว่าการด�าเนินกิจการของภาคธุรกิจส่งผลกระทบ
        ด้านสิทธิมนุษยชนในส่วนส�าคัญ กล่าวคือ
                 •  ผลกระทบต่อแรงงาน แรงงานข้ามชาติ ชุมชน และกลุ่มเปราะบาง จนท�าให้คณะกรรมาธิการยุโรปออก
        ค�าประกาศแจ้งเตือน (ใบเหลือง) กับประเทศไทย หรือการที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จัดอันดับสถานการณ์
        การค้ามนุษย์ (Trafficking In Persons Report) ของไทยอยู่ในอันดับ Tier 3

                 •  ผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ หรือโครงการพัฒนา หรือ
        การลงทุนขนาดใหญ่ ทั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และจากการนักธุรกิจผู้ลงทุนหรือโครงการพัฒนาทั้งของรัฐและเอกชนสัญชาติไทย
        ในประเทศเพื่อนบ้าน



                                                           ที่ผ่านมา กสม. พบว่า รัฐได้มีมาตรการ/นโยบายหลายประการ
                                                   ในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง
                                                   ที่ได้รับผลกระทบจากการด�าเนินธุรกิจที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน
                                                   ได้มีความตื่นตัวและมีความพยายามในการด�าเนินธุรกิจบนการเคารพ

                                                   สิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยรัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖
                                                   พฤษภาคม ๒๕๕๙ ในการผลักดันให้ประเทศไทยมีมาตรการและ
                                                   แนวทางปฏิบัติอย่างจริงจังในการส่งเสริมให้เอกชนมีความรับผิดชอบ

                                                   ต่อสังคมและเคารพหลักพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนในการลงทุน
                                                   ทั้งที่เกิดในประเทศ  รวมถึงการลงทุนสัญชาติไทยในต่างประเทศ
                                                   ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของ กสม.  พร้อมกับการก�ากับ
                                                                                           ๑๔
                                                   การปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม
                                                   ของธุรกิจ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐) อย่างไรก็ดี ยังพบว่ามี

                                                   ด�าเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในเชิงธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนค่อนข้างน้อย
                                                   นอกเหนือจาก กรณีที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุน
        อย่างรุนแรง จึงมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนต้องด�าเนินการอย่างจริงจังและน�าแนวทางการเฝ้าระวัง

        โดยใช้กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence : HRDD) มาปรับใช้


        สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
                 ในปี ๒๕๕๙ เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ�านวน ๘๐๗ เหตุการณ์ โดยมีผู้เสียชีวิต
        จ�านวน ๓๐๗ ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บ ๖๒๘ ราย ซึ่งมีจ�านวนเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๘ ซึ่งมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ๖๗๔ เหตุการณ์

        มีผู้เสียชีวิต ๒๔๖ ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บ ๕๔๔ ราย ในขณะที่ รัฐมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่
        จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยแนวทางสันติวิธีผ่านกระบวนการพูดคุยสันติสุข โดยด�าเนินการพูดคุยสันติสุขกับกลุ่มที่มีอิทธิพล
        ในการก่อเหตุความรุนแรง ในเดือนกันยายน ๒๕๕๙ ซึ่งมีการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัย (safety zone) เฉพาะในบางพื้นที่ และ

        ก�าหนดข้อตกลงต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งนี้ ยังพบสถานการณ์ส�าคัญ กล่าวคือ
                 •  การก่อเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การด�าเนินการยังไม่เป็นรูปธรรมหรือมีความก้าวหน้าใน
        การด�าเนินการตามข้อตกลงจากการเจรจา
                 •  การร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมโดยส่วนใหญ่อ้างว่า ได้รับผลกระทบจากการบังคับ
        ใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่

                 ๑๔  รายงานผลการพิจารณาค�าร้อง ๑๑๒๐/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เรื่องสิทธิชุมชน กรณีโครงการท่าเรือน�้าลึกและเขตเศรษฐกิจทวาย ในสาธารณรัฐ
        แห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการพัฒนา ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวทวาย

                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  54  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60