Page 59 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 59

•  สถานการณ์เด็กกับสื่อออนไลน์ พบว่า มีแนวโน้มการ
        ใช้งานสื่อออนไลน์ของเด็กที่เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับแนวโน้มที่เพิ่ม

        ขึ้นของสื่อที่มีเนื้อหาไม่เหมาะกับเด็ก ในขณะที่มาตรการในการ
        ป้องกันเด็กจากสื่อที่ไม่เหมาะสมของรัฐยังไม่ครอบคลุมและทันต่อ
        พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมการใช้สื่อของเด็กอย่าง
        ทันท่วงที
                 •  สถานการณ์ของเด็กเคลื่อนย้ายและเด็กที่เป็น

        บุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานพบว่า มีข้อจ�ากัดในการได้รับ
        สิทธิขั้นพื้นฐานด้านการศึกษาและการสาธารณสุข ตลอดจนปัญหาในการปรับตัวเมื่อเข้าอยู่ในระบบการศึกษา รวมถึงภาวะเสี่ยงต่อ
        การเผชิญกับปัญหาความรุนแรง การถูกเลือกปฏิบัติ การถูกล่วงละเมิดและแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ การถูกท�าร้ายร่างกาย

        ตลอดจนการถูกชักจูงให้เข้าสู่ขบวนการยาเสพติด และถูกล่อลวงเพื่อเข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์


        กลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
                                                                    สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติให้ความเห็นชอบ
                                                           กับสาระของปฏิญญาว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของ

                                                           ปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรของสังคมในการส่งเสริม
                                                           และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน หรือเป็น
                                                           ที่รู้จักในนามของปฏิญญาว่าด้วยผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน หรือ

                                                           นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งหมายถึง บุคคลที่ส่งเสริมและ
                                                           ต่อสู้เพื่อให้เกิดการคุ้มครองและตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนและ
                                                           เสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยยังคงพบสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับนักปกป้อง
                                                           สิทธิมนุษยชน และครอบครัวของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
        กล่าวคือ

                 •  การถูกคุกคาม ข่มขู่ การถูกฟ้องร้องด�าเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Strategic Litigation
        Against Public Participation : SLAPP) โดยมักจะใช้ข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและการน�าข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
        ซึ่งส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวในการที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นหรือเผยแพร่ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

                 •  การบังคับสูญหาย (enforced disappearance) ซึ่งมีการสอบสวนและน�าคดีขึ้นสู่ชั้นศาลไม่มากนัก รวมทั้ง
        มีหลายคดีที่ผู้กระท�าความผิดยังไม่ได้รับการลงโทษ ครอบครัวและญาติไม่ได้รับการแจ้งข้อมูลความคืบหน้าในการด�าเนินการใด ๆ
                 •  ข้อจ�ากัดของการเยียวยาความเสียหาย โดยมีแต่การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและด้านทนายความ


                 ทั้งนี้ ได้มีการน�าเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระท�าให้บุคคลสูญหาย

        พ.ศ. .... เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ในขณะที่ รัฐให้ความส�าคัญกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยการรายงาน
        ทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ภายใต้กระบวนการ UPR รอบที่ ๒ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ค�ารับรองในส่วน
        ที่เกี่ยวข้องกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เสนอโดยประเทศต่าง ๆ รวมทั้งกระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

        ได้แสดงความมุ่งมั่นในการบรรจุประเด็นเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไว้ใน (ร่าง) แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๔


        กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
                 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยมีพัฒนาการของการยอมรับอัตลักษณ์ ความหลากหลาย และการแสดงออกทางเพศ
        เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยจะพบพัฒนาการทั้งในด้านการก�าหนดค�าเรียกในเอกสารราชการ หลักฐานการเกณฑ์ทหาร และอื่น ๆ

        ทั้งนี้ กสม. พบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนใน ๕ มิติส�าคัญ คือ


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  58  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64