Page 54 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 54

๓.  สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ



                     สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ กสม. ได้พิจารณาจากสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อประชาชนและประเทศ
            ในภาพรวม รวมถึงสถานการณ์ที่สังคมให้ความสนใจต่อการแก้ไขปัญหาของรัฐ โดยประเด็นที่ถูกน�ามาเสนอในรายงานผล
            การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ ประกอบด้วย สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ ๔ กรณี ได้แก่
            (๑) สถานการณ์การค้ามนุษย์ (๒) ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (๓) สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ (๔) สิทธิชุมชน ซึ่งสรุปได้ดังนี้


            สถานการณ์การค้ามนุษย์

                     รัฐบาลได้ให้ความส�าคัญและตระหนักถึงการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยด�าเนินการแก้ไขปัญหาทั้งในเชิงกฎหมาย
            นโยบาย ตลอดจนการปฏิบัติการเชิงรุก โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑

            ในมาตรา ๖ และมาตรา ๙ ให้สอดคล้องกับพิธีสารต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะในหญิงและเด็กซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี
            การปรับแก้ไขความหมายของค�าว่า “เหยื่อการค้ามนุษย์” ในส่วนของการค้าประเวณี ให้รวมถึงกรณีที่ผู้กระท�าการค้าประเวณี
            ได้กระท�าด้วยความยินยอมหรือสมัครใจด้วย
                                                ๑๐

                     การปรับแก้ไขกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการประมงและอาหารทะเล รวมถึง

            การประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. ๒๕๕๙ นอกจากนี้ ยังจัดตั้งส�านักงานคดีค้ามนุษย์ในส�านักงานอัยการ
            สูงสุด และแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา พร้อมกับออกข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีการด�าเนินคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๙
            เพื่อให้การด�าเนินคดีที่เกี่ยวกับความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นไปด้วยความรวดเร็ว สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ในขณะที่ยังพบ

            สถานการณ์ที่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์มักถูกน�าตัวไปใช้หรือแสวงหาประโยชน์ลักษณะส�าคัญ กล่าวคือ
                     •  การบังคับใช้แรงงาน โดยเฉพาะการค้ามนุษย์ในภาคอุตสาหกรรมการประมง
                     •  การขายบริการทางเพศ โดยเฉพาะการค้ามนุษย์กรณีผู้หญิงต่างด้าวในสถานบริการต่าง ๆ
                                                                                                ๑๑
                     •  การบังคับเป็นขอทาน โดยการน�าเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทาน และการแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ
            อาทิ การขายพวงมาลัย และการขายสินค้าต้นทุนต�่าในช่วงเวลาหรือสถานที่ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกล่วงละเมิดทางเพศ

                     •  การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ซึ่งยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ปรากฏชัดแจ้งในประเทศไทย


                     จากสถานการณ์โดยรวมของปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เห็นได้ว่า ทุกภาคส่วนมีความพยายามในการแก้ไขปัญหา

            ทั้งในส่วนของการออกกฎหมาย มาตรการต่าง ๆ การเร่งรัดกระบวนการด�าเนินการ โดยน�าข้อเสนอแนะและข้อสังเกตต่าง ๆ   ภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
            ของคณะกรรมการประจ�าตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ทั้ง ICCPR และ ICESCR มาเป็นกรอบในการด�าเนินการ
            ท�าให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยในปี ๒๕๕๙ คลี่คลายขึ้น อันน�ามาซึ่งการพิจารณาเปลี่ยนสถานะของประเทศไทย
            จากการถูกก�าหนดสถานะอยู่ใน Tier 3  ในปี ๒๕๕๘ มาเป็นสถานะ Tier 2 Watch List  ซึ่งหากประเทศไทยด�าเนินนโยบาย
                                                                                   ๑๓
                                            ๑๒
            และมาตรการที่ได้จัดให้มีขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จะมีส่วนท�าให้การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น


            ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
                     สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนมิได้ก�าหนดพันธะผูกพันทางกฎหมายต่อภาคธุรกิจไว้โดยตรง    บทที่
                                                                                                                    ๒
            แต่ได้ก�าหนดให้รัฐเป็นผู้รับผิดชอบ มีพันธกรณีระหว่างประเทศ โดยการตรากฎหมายและบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศ
            ที่มีบทบัญญัติให้บริษัทธุรกิจต้องเคารพต่อสิทธิมนุษยชน หลายกรณีพบว่า แม้ธุรกิจจะได้ปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ละประเทศแล้ว


                     ๑๐  ข้อมูลจากนางสาวศิริวรรณ ว่องเกียรติไพศาล ทนายความด้านการค้ามนุษย์ สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ (โดยการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ได้รับการ
            ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อเดือน มกราคม ๒๕๖๐)
                     ๑๑  รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ ๗๓/๒๕๖๐ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                     ๑๒  กลุ่มประเทศที่สถานการณ์การค้ามนุษย์ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต�่าของ TVPA และรัฐบาลประเทศนั้นไม่ด�าเนินการแก้ไขอย่าง
                     ๑๓  กลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  53  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59