Page 51 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 51
สิทธิในความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเปลี่ยนแปลง
และก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารและ
การเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ สามารถด�าเนินการได้อย่างสะดวก
รวดเร็ว รวมทั้งอาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ได้เช่นเดียวกัน อาทิ การน�าข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประมวลผล
หรือเปิดเผย หรือการน�าข้อมูลข่าวสารไปใช้ประโยชน์ในทาง
พาณิชย์ โดยปราศจากการได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของข้อมูล
ซึ่งท�าให้บุคคลเจ้าของข้อมูลได้รับความเสียหายและได้รับ
ผลกระทบทั้งต่อชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว ทรัพย์สิน
สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล รวมถึงร่างกายและชีวิต ในขณะที่รัฐบาลได้พยายามยกร่างกฎหมายทั่วไปที่ให้การคุ้มครองสิทธิ
ในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล แต่ กสม. ยังมีข้อห่วงกังวลว่า
• บทบัญญัติบางมาตราของกฎหมายดังกล่าว ยังไม่สามารถคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่
กระบวนการจัดท�ากฎหมายยังคงล่าช้า ตลอดจนขาดการรับรู้และการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมของภาคส่วนต่าง ๆ
• การเสนอร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ และมีบทบัญญัติบางประการก�าหนดให้รัฐมีอ�านาจในการเข้าถึงหรือระงับข้อมูลการติดต่อสื่อสารของประชาชน
โดยไม่มีเงื่อนไขการด�าเนินการที่ชัดเจน จนท�าให้เกิดความกังวลว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
เกินความจ�าเป็น
ดังนั้น การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทยยังขาดความสมดุล และขาด
ความสอดคล้องต่อหลักการของ ICCPR และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กสม. จึงเสนอให้รัฐด�าเนินการพัฒนาความรู้
ความเข้าใจต่อผู้ด�าเนินการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
ตลอดจนการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การสร้างจิตส�านึกและความตระหนักในสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคล เพื่อให้
ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ....
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุม
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ จะรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความ
เสมอภาค แต่ยังคงพบว่า สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ยังคงถูกจ�ากัด ตรวจสอบและควบคุมอย่างเข้มงวด ผ่านการบังคับใช้กฎหมาย
หลายฉบับที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการแสดงความเห็นในด้านการเมือง
การปกครอง ตลอดจนการชุมนุมสาธารณะ แม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ
นโยบายสาธารณะหรือโครงการของรัฐและเอกชนที่มีผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน โดย กสม. พบว่า รัฐใช้กฎหมาย
ในการก�ากับ ควบคุมการใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็นหลัก ๆ ได้แก่
• ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติว่าด้วยการ
กระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
• ค�าสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๙ เรื่อง มอบอ�านาจการอนุมัติและลงนามค�าสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานป้องกันและ
ปราบปรามและผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม ตามค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๓/๒๕๕๙ เรื่อง การป้องกันและปราบปราม
การกระท�าความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนท�าลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ซึ่งเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจได้อย่างกว้างขวาง และมีผลให้เกิดการปฏิบัติที่แตกต่างกัน
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 50 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙