Page 50 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 50
โดยส่วนหนึ่งมีข้อร้องเรียนว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว อีกทั้งยังพบข้อท้าทายอันเนื่องมาจาก
การตีความทางกฎหมายเกี่ยวกับการก�าหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายไว้ ซึ่งส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพของกระบวนการสืบสวนสอบสวน และการติดตามหาบุคคลที่หายสาบสูญโดยถูกบังคับ อาทิ
• ค�าพิพากษาคดีของนายสมชาย นีละไพจิตร ในปี ๒๕๕๙ ซึ่งศาลวางหลักกฎหมายเกี่ยวกับผู้มีอ�านาจจัดการ
แทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕ (๒) หากเป็นกรณีที่บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย โดยไม่ทราบ
ชะตากรรมว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะไม่สามารถเป็นโจทก์ฟ้องคดีที่เกิดจากบุคคลถูกบังคับ
ให้สูญหายได้
• ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖/๑ ได้มีข้อยกเว้นให้รับฟังพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ
แต่ได้มาเนื่องจากการกระท�าโดยมิชอบหรือเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบได้ หากเป็น
ประโยชน์ต่อการอ�านวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือ
สิทธิเสรีภาพของประชาชน
ลักษณะดังกล่าวท�าให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย และวิธีการปฏิบัติ เปิดช่องให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่
ของรัฐด้วยการกระท�าทรมานอันขัดต่อกติกา ICCPR ข้อ ๗ ที่รับรองว่าบุคคลจะถูกทรมานหรือได้รับการปฏิบัติหรือการลงโทษ
ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมไม่ได้
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
ที่ผ่านมา กสม. ได้รับเรื่องเรียนเกี่ยวกับการละเมิด
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด และมีจ�านวนเรื่อง
ร้องเรียนมากกว่าสิทธิด้านอื่น ๆ ซึ่งในปี ๒๕๕๙ ก็เช่นกัน แม้ว่ารัฐ
ได้มีความพยายามที่จะด�าเนินการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่
ได้ประกันสิทธิในกระบวนการยุติธรรมไว้ ตลอดจนกฎหมายต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยพยายามท�าให้ประชาชนสามารถเข้าถึง
กระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน อาทิ
• การตรากฎหมายและปรับแก้ไขพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ�าเลย
ในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม โดยอาศัยอ�านาจตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๕๘ ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ ภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
• การก�าหนดมาตรการที่ชัดเจนในการเคารพ คุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ต้องหา จ�าเลย และ
ผู้ต้องขัง อาทิ การไม่น�าตัวผู้ต้องหาออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน การใช้เครื่องมือการตรวจสอบร่างกาย (body scanner)
ส�าหรับการตรวจค้นตัวผู้ต้องขังหญิง และค�าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ ๕๕/๒๕๕๙ ให้พลเรือนที่
กระท�าความผิดดังกล่าวนับแต่วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙ อยู่ในอ�านาจการพิจารณาของศาลยุติธรรมโดยทั่วไป
ทั้งนี้ สถานการณ์ความเหลื่อมล�้าทางเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าว ยังส่งผลให้บุคคลเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
ได้แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังพบว่า กฎหมายหรือค�าสั่งที่ให้อ�านาจและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในบางลักษณะ บทที่
๒
ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหา จ�าเลย และผู้ต้องขัง เช่น ค�าสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ ซึ่งให้อ�านาจเจ้าพนักงานรักษาความสงบ
เรียบร้อยมีอ�านาจเรียกตัวบุคคลเพื่อมาสอบถามข้อมูลหรือให้ถ้อยค�าที่เป็นประโยชน์ และมีอ�านาจควบคุมตัวได้ไม่เกิน
เจ็ดวัน ในทางปฏิบัติพบว่า มีการควบคุมตัวตามค�าสั่งดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งท�าให้เกิดผลกระทบหรือความเสี่ยงต่อการละเมิด
สิทธิมนุษยชน รวมถึงการใช้เครื่องพันธนาการในลักษณะทั่วไปที่ไม่ปกปิดมิดชิด ซึ่งท�าให้ผู้ต้องหาหรือจ�าเลยรู้สึกว่าถูกประจาน เป็นต้น
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 49 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙