Page 49 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 49
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ประมวลข้อมูลสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๙
ทั้งจากบันทึกข้อเท็จจริง เหตุการณ์ รายงานการติดตามตรวจสอบกรณีร้องเรียน สถิติข้อมูลของหน่วยงาน/องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนรายงานสถานการณ์ที่จัดท�าโดยกลุ่มองค์กรที่ปฏิบัติงานด้านส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนหลาย ๆ แห่ง โดยพิจารณาควบคู่กับ
การด�าเนินการของรัฐบาล ทั้งในด้านนโยบาย การพัฒนา การปฏิรูปสังคมและการเมืองของประเทศไทย ซึ่งพบว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นตั้งใจ
ในการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากและซับซ้อน ที่ผ่านมา มีผลการด�าเนินงานในหลายด้านที่เห็นความก้าวหน้าของสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อเท็จจริงที่สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ปัญหาที่มีผลกระทบต่อการสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในบางด้าน ซึ่งควร
น�าเสนอให้รัฐบาลพิจารณาด�าเนินมาตรการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยการน�าเสนอจะแบ่งสถานการณ์สิทธิมนุษยชนออกเป็น
๔ ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ได้แก่ การทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย สิทธิในกระบวนการ
ยุติธรรม สิทธิในความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุม
สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้แก่ สิทธิทางการศึกษา สิทธิด้านสุขภาพ และสิทธิ
ในการประกอบอาชีพและการท�างาน
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ ได้แก่ สถานการณ์การค้ามนุษย์ ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน สถานการณ์ใน
จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสิทธิชุมชนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติ กลุ่มคนพิการ กลุ่มเด็ก กลุ่มนัก
ปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม และกลุ่มสตรี
โดยสรุปเนื้อหาในภาพรวมแต่ละสถานการณ์ ดังนี้
๑. สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และการต่อต้านการทรมาน การประติบัติหรือ
การลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี กสม. พิจารณาสารัตถะของสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในข้อบทตามพันธกรณี
ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและสิทธิทาง
การเมือง (ICCPR) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (CAT) และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ
โดยถูกบังคับ (CED) ซึ่งแม้ว่าประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างกระบวนการให้สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคี และอนุสัญญาฯ จะยังไม่มีผล
ใช้บังคับกับประเทศไทย แต่รัฐบาลจะต้องไม่กระท�าการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสาระและความมุ่งประสงค์ (Objects and Purposes)
ของอนุสัญญาดังกล่าว นอกจากนี้ ยังรวมถึงข้อเสนอแนะด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้รับมาปฏิบัติภายใต้กลไก UPR
ที่เกี่ยวกับสิทธิที่ได้รับรองไว้ในกติกา ICCPR อนุสัญญา CAT และอนุสัญญา CED ทั้งนี้ มีสถานการณ์หลักสรุปได้ ดังนี้
การทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
ประเทศไทยได้ยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ พ.ศ. ....
โดยผนวกหลักการและสาระส�าคัญของอนุสัญญา CAT และอนุสัญญา CED ไว้ด้วยกัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๔
พฤษภาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา CED และร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและ
การบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... ทั้งนี้ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานบุคคลและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 48 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙