Page 232 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 232
Covenant on Economic, Social and Cultural Rights : ICESCR) ต่างประกันสิทธิที่เท่าเทียมกันระหว่างสตรีและบุรุษ
และห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ
ส�าหรับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
(Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against
Women: CEDAW) ได้ก�าหนดประเด็นส�าคัญที่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติต่อสตรี
และประกันว่าสตรีและบุรุษมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติและดูแลจากรัฐอย่างเสมอ
ภาคกัน โดยรัฐภาคีมีพันธกรณีส�าคัญที่จะต้องก�าหนดมาตรการเพื่อสร้างความเท่า
เทียมกันระหว่างบุรุษและสตรี ปรับรูปแบบทางสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้เอื้อต่อ
การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี ปราบปรามการลักลอบค้าและแสวงหาประโยชน์
ทางเพศจากสตรี ประกันความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการด�ารงชีวิต ทั้งในระดับ
ประเทศและระหว่างประเทศ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง การสนับสนุนให้ด�ารงต�าแหน่งที่ส�าคัญ ความเท่าเทียมกันในกฎหมาย สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
ว่าด้วยสัญชาติ และการศึกษา การได้รับโอกาสในการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน การป้องกันความรุนแรงต่อสตรีในสถานที่ท�างาน
ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ การประกันความเป็นอิสระด้านการเงินและความมั่นคง ด้านสังคม และ
การให้ความส�าคัญแก่สตรีในชนบท ความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย โดยเฉพาะในด้านกฎหมายแพ่งและกฎหมายครอบครัว
ซึ่งเป็นการประกันความเท่าเทียมกันในชีวิตส่วนบุคคล
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา CEDAW โดยการภาคยานุวัติ และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยตั้งแต่วันที่
๘ กันยายน ๒๕๒๘ โดยขณะเข้าเป็นภาคีได้ตั้งข้อสงวนต่อข้อบทต่าง ๆ จ�านวน ๗ ข้อ ปัจจุบันคงเหลือข้อสงวน ๑ ข้อ คือ บทที่
๔๙๖
๖
ข้อ ๒๙ การตีความ และการระงับข้อพิพาท นอกจากสนธิสัญญาหลักแล้ว ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันพิธีสารเลือกรับของ
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Optional Protocol to the Convention on the Elimination
of All Forms of Discrimination Against Women: OP-CEDAW) เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓ มีผลใช้บังคับกับ
ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๓ ซึ่งมีสาระส�าคัญเกี่ยวกับการยอมรับอ�านาจของคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา
ในการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีที่ปรากฏในอนุสัญญาและเกี่ยวข้องกับรัฐภาคี โดยผู้ร้องเรียน
อาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในนามของผู้ถูกละเมิด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้รับรองความเสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษ และการห้ามการ
เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศ และในรัฐธรรมนูญฉบับต่อมา เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ ก็ได้รับรองความเสมอภาคและสิทธิที่เท่าเทียมกันระหว่างสตรีและบุรุษ โดยการห้ามการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความ
แตกต่างใด ๆ รวมถึงความแตกต่างทางเพศ ซึ่งหลักการดังกล่าวได้ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) เช่นเดียวกัน
๖.๘.๒ สถานการณ์ทั่วไป
คณะกรรมการการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีมีข้อสังเกตโดยสรุป (Concluding Observation)
ภายหลังการเสนอรายงานของประเทศไทย ฉบับที่ ๔ - ๕ เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๙ หลายประเด็น อาทิ
๔๙๗
๔๙๖ ข้อสงวนต่อข้อบทต่าง ๆ จ�านวน ๗ ข้อ คือ ข้อ ๗ ความเสมอภาคทางการเมืองและต�าแหน่งราชการ ข้อ ๙ วรรค ๒ การถือสัญชาติของบุตร ข้อ ๑๐ ความเสมอภาคในด้าน
การศึกษา ข้อ ๑๑ วรรค ๑ (b) โอกาสในการที่จะได้รับการจ้างงานชนิดเดียวกัน ข้อ ๑๕ วรรค ๓ การท�าสัญญาของสตรี ข้อ ๑๖ ความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส ข้อ ๒๙ การ
ระงับการตีความการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
๔๙๗ รัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบมีพันธกรณีระหว่างประเทศที่ต้องเสนอรายงานของรัฐภาคีต่อคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา เพื่อ
รายงานถึงผลการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาตรการทั้งด้านนิติบัญญัติ ตุลาการ รวมถึงด้านบริหารภายในประเทศของตน เพื่อให้มีผลต่อบทบัญญัติของอนุสัญญาฉบับนี้ โดยจะต้องเสนอรายงาน
ฉบับแรกภายในปีแรก นับจากวันที่อนุสัญญามีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีได้มีข้อเสนอแนะเรื่องการรายงานโดยรัฐภาคีไว้ว่า รายงานฉบับแรกซึ่งต้องจัดท�าส่ง
ตามมาตรา ๑๘ ของอนุสัญญานั้นควรครอบคลุมสถานการณ์นับถึงวันที่ส่งรายงาน หลังจากนั้น ควรมีการส่งรายงานฉบับต่อไปอย่างน้อยทุก ๆ ๔ ปี หลังจากที่ครบก�าหนดส่งรายงานฉบับแรก
และควรกล่าวถึงอุปสรรคในการปฏิบัติตามอนุสัญญาอย่างเต็มรูปแบบ รวมทั้งมาตรการในการแก้ไขอุปสรรคเหล่านั้น ประเทศไทยได้เสนอรายงานการอนุวัติอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือก
ปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบฉบับแรก (CEDAW/C/5/Add.51) เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๐ รายงานที่ ๒ - ๓ (ฉบับรวม) (CEDAW/C/THA/2-3) ส่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และรายงานฉบับที่
๔ – ๕ (ฉบับรวม) (CEDAW/C/THA/4-5) ส่งเมื่อปี ๒๕๔๖ และฉบับล่าสุดของการส่งรายงานของประเทศไทย คือ รายงาน ฉบับที่ ๖ - ๗ (CEDAW/C/THA/6-7) ส่งเมื่อ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 231 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙