Page 233 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 233

บุรุษ-สตรี โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการเข้าถึงโอกาส
        ทางเศรษฐกิจ (ข้อ ๓) ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อสตรี และการไม่สามารถน�าตัว

        ผู้กระท�าผิดมาลงโทษได้ โดยการให้ความส�าคัญกับการประนีประนอมและ
        การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวมักส่งผลให้สตรีไม่ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม
        (ข้อ ๖) ทัศนคติเกี่ยวกับบทบาทของสตรีในสังคมตามความเชื่อเดิมที่เห็นว่า
        สตรีควรมีบทบาทในเรื่องครอบครัวเป็นหลักท�าให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึง
        โอกาสในการท�างาน การมีส่วนร่วมทางการเมืองและในกิจการสาธารณะของ

        สตรี (ข้อ ๕ ข้อ ๗ และ ข้อ ๑๑) ปัญหาการค้ามนุษย์และการแสวงประโยชน์
        จากสตรีและเด็กหญิง และปัญหาธุรกิจท่องเที่ยวทางเพศ (sex tourism)
        การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุรวมถึงการท�าให้สตรีมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดี

        ขึ้น การดูแลฟื้นฟูสตรีและเด็กหญิงที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เพื่อให้
        สามารถกลับมาอยู่ในสังคมได้ การปราบปรามการค้ามนุษย์และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวทางเพศ (ข้อ ๖) ปัญหาการที่
        สตรีมีส่วนร่วมทางการเมืองและกิจการสาธารณะของประเทศในระดับที่ค่อนข้างต�่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสภาผู้แทนราษฎร
        วุฒิสภา องค์กรการปกครองในระดับท้องถิ่นและในระดับระหว่างประเทศ (ข้อ ๗) สตรีที่อาศัยในชนบทและสตรีชาวเขา
        มีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและสุขอนามัย การศึกษา การได้รับอาหารตามหลักโภชนาการอย่างพอเพียงและ

        การท�างานที่มีรายได้ (ข้อ ๑๔) สตรีมุสลิมในภาคใต้ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาสวัสดิการสังคมการดูแลสุขภาพและโอกาส
        ทางเศรษฐกิจรวมถึงการที่ต้องแต่งงานเมื่ออายุยังน้อยตามขนบธรรมเนียมและเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ท�าให้ปัญหา
        ดังกล่าวมีความรุนแรงขึ้น (ข้อ ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๓ และข้อ ๑๖) ความซับซ้อนของกระบวนการให้สัญชาติแก่ชาวเขาซึ่ง

        มีผลกระทบต่อสตรีชาวเขาหรือปัญหาการไร้สถานะทางกฎหมายของสตรีที่เป็นผู้ลี้ภัย (ข้อ ๓ และข้อ ๙) ปัญหาการท�าแท้ง
        ที่ไม่ปลอดภัย การที่สตรีต้องรับภาระในเรื่องการวางแผนครอบครัวเป็นหลัก ดังเห็นได้จากการใช้ถุงยางอนามัยและ
        การท�าหมันในเพศชายมีอัตราค่อนข้างต�่าหรือการขาดแผนงานในการให้ความรู้ทั้งบุรุษและหญิงรวมทั้งวัยรุ่นเพื่อให้มี
        พฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย (ข้อ ๑๒) ปัญหาการติดเชื้อ HIV/AIDS ที่สูงในสตรีที่ขายบริการทางเพศ (ข้อ ๑๒) การจัดระบบ
        การเก็บข้อมูลที่มีการแยกข้อมูลตามเพศเพื่อให้สามารถประเมินผลกระทบของนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมความ

        เท่าเทียมทางเพศได้อย่างชัดเจน


                 นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่เกิดขึ้นภายหลังการเสนอรายงานเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๙ อาทิ ปัญหาการตั้งครรภ์

        ในวัยรุ่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรง
        ในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งภาคประชาสังคม
        มีข้อความกังวลเรื่อง  ข้อยกเว้นที่ว่าการปฏิบัติตามหลักศาสนาหรือเพื่อความมั่นคงของประเทศไม่ถือเป็น
        การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ



                                                        ประเทศไทยได้รับข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับสิทธิสตรีจากการเสนอ
                                               รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยภายใต้กระบวนการ Universal
                                               Periodic Review (UPR) รอบที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ หลายประการ เช่น ประเด็น

                                               การปรับปรุงกฎหมายสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ในเรื่อง (๑๔) ทบทวน
                                               “พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ” และยกเลิกข้อยกเว้นต่าง ๆ
                                               ในกฎหมายดังกล่าวซึ่งเห็นว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อสตรีเพื่อให้สอดคล้องกับ
                                               อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (๑๕)
                                               เร่งรัดการยกร่างและรับรองพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ





                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  232  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238